วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2553

เจ้าหญิงอนาสตาเซีย

ภาพเจ้าหญิงอนาสตาเซียเมื่อครั้งทรงพระเยาว์


ราชวงศ์โนมานอฟ



แกรนด์ดัชเชสอนาสตาเซียแห่งรัสเซีย(อังกฤษ:Grand.Duchess.Anastasia.Nikolaevna of Russia)

มีพระนามเต็มว่า อนาสตาเซีย นิโคลาเยฟนา โรมาโนวา


(รัสเซีย: Великая Княжна Анастасия Николаевна Романова


( อังกฤษ: Anastasia Nikolaevna Romanova) (18 มิถุนายน พ.ศ. 2444 - 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2461 )


เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ 4 ในพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2และพระนางอเล็กซานดรา แห่งราชวงศ์โรมานอฟ แห่งรัสเซีย

จากเรื่องเล่าลือสู่ตำนาน
อนาสตาเซีย สันนิษฐานว่าทรงถูกปลงพระชนม์พร้อมพระบิดา พระมารดา และพระภคินีและพระราชอนุชา ในห้องใต้ดินของบ้าน Ipatiev ณ เมืองเอคาเตลินเบิร์ก เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2461เมื่อเพียงชันษาเพียงแค่ 17 ปี โดยกองกำลังตำรวจลับบอลเชวิก ภายใต้การบังคับบัญชาของ ยูคอฟ ยูรอฟสกี แต่มีการเล่าขานว่า อนาสตาเซีย เป็นพระธิดาองค์เดียวที่ทรงรอดมาได้ เนื่องจากขณะที่ฝ่ายบอลเชวิกยิงประหารพระองค์ กระสุนได้กระทบกับเครื่องประดับอัญมณีและกระเด้งหายไป และพระองค์ก็ทรงแกล้งสิ้นพระชนม์ เรื่องเล่าขานนี้ถือเป็นเรื่องที่โด่งดังที่สุดเรื่องหนึ่งในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ไม่กี่ปีต่อมาหลังจากการประหารได้มีข่าวลือแพร่สะพัดไปทั่วว่าแกรนด์ดัชเชสองค์เล็กยังทรงพระชนม์ชีพอยู่ ในที่สุด เมื่อ พ.ศ. 2465 ก็ได้มีสตรีผู้หนึ่งนามว่า แอนนา แอนเดอร์สัน ประกาศตนว่าเป็นอนาสตาเซีย แต่ก็ได้มีการตรวจดีเอ็นเอเมื่อ พ.ศ. 2537 (หลังจากที่แอนนา แอนเดอร์สันได้เสียชีวิตไปแล้วถึงกว่า 20 ปี) และผลที่ได้คือ เธอมิใช่อนาสตาเซียตามที่อ้างแต่อย่างใด อย่างไรก็ดี ผู้สนับสนุนหลายคนปฏิเสธผลการพิสูจน์นี้ อีกผู้หนึ่งที่อ้างว่าตนคืออนาสตาเซีย คือ ยูจิเนีย สมิธ เมื่อ พ.ศ. 2529 ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มโต้เถียงเรื่องอนาสตาเซีย แต่คำกล่าวอ้างของเธอไม่สอดคล้องกับความจริง


เมื่อพ.ศ. 2534 ได้มีการค้นพบพระศพ 2 พระศพ พระศพหนึ่งเป็นของ พระโอรสองค์เล็ก และอีกพระศพซึ่งได้รับการยืนยันจากนักวิชาการว่าคือพระศพของ อนาสตาเซีย ทั้ง 2 พระศพมิได้ถูกฝังร่วมกับพระบิดา พระมารดา และพระภคินี แต่ถูกเผาโดยกลุ่มคนที่ไม่ทราบแน่ชัดในป่าข้างๆ สุสาน
เมื่อ พ.ศ. 2543 คริสต์จักรนิกายรัสเซียนออร์โธดอกส์ ได้ประกาศให้ พระเจ้าซาร์นิโคลัส, พระนางอเล็กซานดรา, แกรนด์ดัชเชสโอลกา, แกรนด์ดัชเชสทาเทียนา, แกรนด์ดัชเชสมาเรีย, แกรนด์ดัชเชสอนาสตาเซีย และ ซาเรวิช อเล็กซี เป็นนักบุญ




รูปที่ 1 .พระเจ้ามิคาอิล เฟโอโดโรวิช (1596-1645) ปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์โรมานอฟ

รูปที่ 2 .พระเจ้านิโคลัสที่ 2 และพระราชินีอเล็กซานดรา

รูปที่ 3 .เจ้าหญิงอนาสตาเซีย พระองค์จริง ค.ศ. 1916

รูปที่ 4 . แอนนา แอนเดอสัน ที่อ้างตัวเป็นเจ้าหญิงอนาสตาเซียเมื่อ ค.ศ.1920

รูปที่ 5 . แอนนา แอนเดอสัน ที่อ้างตัวเป็นเจ้าหญิงอนาสตาเซียเมื่อ ค.ศ.1930

รูปที่ 6 .แอนนา แอนเดอสัน ที่อ้างตัวเป็นเจ้าหญิงอนาสตาเซียเมื่อ ค.ศ.1974

วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2553

ดอกดาหลา


ลำต้น ดาหลาเป็นพืชที่มีลักษณะคล้ายข่า มีลำต้นใต้ดินเรียกว่าเหง้า (rhizome) เหง้านี้ จะเป็น บริเวณที่เกิดของหน่อดอกและหน่อต้น ดาหลา 1 ต้น สามารถให้หน่อใหม่ได้ประมาณ 7 หน่อ ใน เวลา 1 ปี ส่วนลำต้นเหนือดินเป็นกาบใบที่โอบซ้อนกันแน่น เช่นเดียวกับพวกกล้วย ส่วนนี้คือลำต้นเทียม (pseudostem) ลำต้นเหนือดินสูง 2-3 เมตร มีสีเขียวเข้ม
ใบ มีรูปร่างยาวรี กลางใบกว้างแล้วค่อย ๆ เรียวไปหาปลายใบ และฐานใบ ใบไม่มีก้านใบ ผิวเกลี้ยงท้งด้านบนและด้านล่าง ใบยาว 30-80 เซ็นติเมตร กว้าง 10-15 เซนติเมตร ปลายใบ แหลมฐานใบเรียวลาดเข้าหาก้านใบ เส้นกลางใบปรากฏชัดทางด้านล่างของใบ
ดอก
ดอกดาหลาเป็นดอกช่อมีลักษณะดอกแบบ (head) ประกอบด้วยกลีบประดับ (Bracts) มี 2 ขนาด ส่วนโคนประกอบด้วยกลีบประดับขนาดใหญ่ มีความกว้างกลีบ 2-3 ซ.ม. จะมีสีแดงขลิบขาวเรียงซ้อนกันอยู่และจะบานออก ประมาณ 25-30 กลีบ และมีกลีบประดับ ขนาดเล็กอยู่ส่วนบนของช่อดอก ความกว้างกลีบประมาณ 1 ซ.ม. ซึ่งมีสีเดียวกับกลีบประดับ ขนาดใหญ่ กลีบประดับเล็กนี้จะหุบเข้าเรียงเป็นระดับมีประมาณ 300-330 กลีบ ภายในกลีบ ประดับขนาดใหญ่ที่บานออกจะมีดอกจนิงขนาดเล็กกลีบดอกสีแดง ซึ่งเป็นดอกสมบูรณ์เพศอยู่ จำนวนมาก ดอกบานเต็มที่จะมีขนาดความกว้างดอกประมาณ 14-16 เซนติเมตร ความยาวช่อ 10-15 เซนติเมตร มีก้านช่อดอกยาว 30-150 เซนติเมตร ลักษณะก้านช่อดอกแข็งตรง ดอก จะออกตลอดปีแต่จะให้ดอกดกที่สุดในช่วงฤดูร้อน คือ เดือนมีนาคม - พฤษภาคม ดอกจะ พัฒนามาจากหน่อดอกที่แทงออกมาจากเหง้าใต้ดินลักษณะของหน่อจะมีสีชมพู ที่ปลายหน่อ ดอกดาหลา











วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2553

วันตรุษจีน น ;P


ตรุษจีน เป็นเทศกาลที่สำคัญที่สุดของจีน เพราะชาวจีนถือว่าวันตรุษจีนคือวันขึ้นปีใหม่ตามปฎิทินจีน เช่นเดียวกับสงกรานต์วันปีใหม่ไทย ดังนั้นชาวจีนจึงให้ความสำคัญกับเทศกาลนี้เป็นอย่างยิ่ง และมีการเฉลิมฉลองทั่วโลกโดยเฉพาะชุมชนขนาดใหญ่ของคนเชื้อสายจีน ซึ่งในแต่ละพื้นที่ก็จะมีพิธีเฉลิมฉลองแตกต่างกันไป สำหรับที่มาของวันตรุษจีนนั้น เชื่อกันว่าประเพณีนี้มีมานานกว่าสี่พันปีแล้ว จัดขึ้นเพื่อฉลองเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ เดิมที่ไม่ได้เรียกว่าเทศกาลตรุษจีน แต่มีชื่อเรียกต่างกันตามยุคสมัย นั่นคือเมื่อ 2100 ปีก่อนคริสตศักราชจะเรียกว่า "ซุ่ย" ซึ่งมีความหมายถึงการโคจรครบหนึ่งรอบของดาวจูปิเตอร์ จนกระทั่งต่อมาในยุค 1000 กว่าปีก่อนคริสตศักราช เทศกาลตรุษจีนจะถูกเรียกว่าว่า "เหนียน" หมายถึงการเก็บเกี่ยวได้ผลอุดมสมบูรณ์นั่นเอง นอกจากนี้วันตรุษจีนยังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วันชุงเจ๋" ซึ่งหมายถึงเทศกาลดูใบไม้ผลิ หรือขึ้นปีเพาะปลูกใหม่ เพราะช่วงก่อนตรุษจีนนั้นตรงกับฤดูหนาว ไม่สามารถทำการเกษตรได้ ดังนั้นเมื่อเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิที่มีอากาศเหมาะสมแก่การเพาะปลูก ชาวจีนจึงสามารถทำนา ทำสวน ได้อีกครั้งหลังจากผ่านพ้นฤดูหนาวมานั่นเอง ส่วนการกำหนดวันตรุษจีนนั้น ตามประเพณีเทศกาลตรุษจีนจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 23 เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติของจีน ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือนอ้ายตามปฏิทินจันทรคติของจีน และถือว่าคืนวันที่ 30 เดือน 12 เป็นวันส่งท้ายปีเก่า ส่วนวันที่ 1 เดือน 1 คือวันชิวอิก หมายถึงวันแรกของฤดูใบไม้ผลิ การเตรียมงานเพื่อการเฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีนนั้น จะเริ่มขึ้นตั้งแต่หนึ่งเดือนก่อนวันตรุษจีน (คล้ายกับวัน คริสต์มาสของประเทศตะวันตก) โดยผู้คนจะเริ่มซื้อข้าวของต่างๆ เพื่อประดับตกแต่งบ้านเรือน และเตรียมทำความสะอาดครั้งใหญ่ ตั้งแต่ชั้นบนลงชั้นล่าง เนื่องจากมีความเชื่อว่าจะเป็นการปัดกวาดสิ่งที่ไม่ดีออกไป ภายในบ้านทั้งประตู หน้าต่าง จะประดับประดาไปด้วยสีแดง และกระดาษสีแดงที่มีคำอวยพรให้อายุยืน ร่ำรวย อยู่ดีมีสุข ฯลฯ จากนั้นครอบครัวจะร่วมรับประทานอาหารที่ล้วนแต่มีความหมายมงคลทั้งสิ้น เช่น กุ้งจะหมายถึงชีวิตที่รุ่งเรืองและความสุข เป๋าฮื้อแห้งหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่ดี สลัดปลาสดจะนำมาซึ่งความโชคดี จี้ไช่ (ผมเทวดา) สาหร่าย จะนำความความร่ำรวยมาให้ และขนมต้ม (Jiaozi) หมายถึงบรรพชนอวยพร หลังจากทานอาหารค่ำแล้ว ทุกคนในครอบครัวจะนั่งกันจนเช้าเพื่อรอวันใหม่โดยการเล่นเกม เล่นไพ่ หรือดูรายการทีวีที่เกี่ยวกับวันตรุษจีน และในวันนี้จะต้องไม่โกรธ ริษยา หรือ ไม่พอใจ เพื่อเป็นสิริมงคลที่ดีสำหรับปีที่กำลังจะมาถึง นอกจากนี้อีกสิ่งหนึ่งที่ถือเป็นสัญลักษณ์ของวันตรุษจีนคือ "อั่งเปา" ซึ่งมีความหมายว่า"กระเป๋าแดง" หรือจะใช้คำว่า "แต๊ะเอีย" ซึ่งมีความหมายว่า "ผูกเอว" จากที่คนสมัยก่อนชอบร้อยเงินเป็นพวงผูกไว้ที่เอว โดยการให้อั่งเปานี้ คู่แต่งงานจะให้เงินเด็กๆ และผู้ใหญ่ที่ยังไม่ได้แต่งงานในซองสีแดง หลังจากนั้นทุกคน ในครอบครัว จะออกมาจากบ้านเพื่อกล่าวสวัสดีปีใหม่ในหมู่ญาติ และด้วยเพื่อนบ้าน ซึ่งคงคล้ายกับการที่ชาวตะวันตกพูดว่า "Let bygones be bygones" (อะไรที่ผ่านไปแล้วก็ให้มันผ่านไป)