วันศุกร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

หลุยส์ ปาสเตอร์


หลุยส์ ปาสเตอร์ เป็นนักเคมีชาวฝรั่งเศส ซึ่งศึกษาเรื่องแบคทีเรีย ปาสเตอร์เกิดในเมืองเล็กๆในฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ.1822 เขาได้ศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์ในวิทยาลัยและเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยหลายแห่งในฝรั่งเศส เขาพบว่าอินทรีย์ของสิ่งมีชีวิตเล็กๆเป็นสาเหตที่ทำให้สิ่งต่างๆเกิดการเปรี้ยวขึ้น เขาคิดค้นทำกระบวนการทำของเหลวเหล่านี้ให้ร้อนเพื่อลดหรือป้องกันไม่ให้มันเสียเรียกว่าปาสเตอเซชั่น เขายังได้พิสูจน์จุลินทรีย์เป็นสาเหตของโรคบางชนิด เขาสามารถป้องกันมนุษย์และสัตว์จากโรคเหล่านี้ได้ด้วยการฉีดวัคซีน และได้พัฒนาวิธีการรักษาโรคกลัวน้ำ ซึ่งเกิดจากการถูกสัตว์บ้ากัด งานของปาสเตอร์ได้ช่วยเหลือผู้ผลิตเหล้า คนปลูกไหม และคนเลี้ยงแพะของฝรั่งเศส และเขายังได้ค้นหายารักษาโรคต่างๆอีกมากมายเช่นอหิวาตกโรค วัณโรค ไข้คอตีบ เป็นต้น

วันอาทิตย์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

พระนางมารีอังตัวเนต


เจ้าหญิงมารี อังตัวเนตต์ ถือกำเนิดในราชวงศ์แห่งออสเตรียเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน1755 และได้อภิเษกกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 (ซึ่งตอนนั้นยังเป็นเจ้าชาย)ในปี 1770 ได้รับการสถาปนาเป็นราชินีแห่งฝรั่งเศสด้วยวัยเพียง 19 ชันษาในอีก 4 ปีต่อมา
ชีวิตในช่วง 7 ปีแรกของการสมรสที่พระเจ้าหลุยส์ ที่ 16 (ซึ่งตอนนั้นยังเป็นแค่ Dauphine หรือ มกุฏราชกุมาร แห่งฝรั่งเศส) และพระนางมารี อังตัวเนตต์ ไม่มีรัชทายาท ประชาชนต่างโห่ร้องบอกให้พระเจ้าหลุยส์หย่ากับพระนางแล้วส่งพระนางกลับออสเตรียซะ จวบจนวันที่ 10 พฤษภาคม 1774 ในเวลาตี 3 ที่พระเจ้าหลุยที่ 15 เสด็จสวรรคต ทั้งสองพระองค์จึงได้รับการสถาปนาเป็นพระราชาและราชินี แห่งฝรั่งเศส
พระนางมารีอังตัวเนตต์ให้กำเนิดรัชทายาทองค์แรก เจ้าหญิง มาเรีย เทเรซ่า ชาลอตต์ ในปี 1778 และเจ้าชายหลุยส์ โจเซฟ ในปี 1781.... เจ้าชายหลุยส์ ชาลส์ ในปี 1785 และ เจ้าหญิงโซเฟีย บีอาทีกส์ ในปี 1786
พระองค์และพระสวามี ทรงปกครองฝรั่งเศสในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงและปฏิวัติซึ่งเกิดไปทั่วทุกแห่งของโลก ชนชั้นทางสังคมมีช่องว่างห่างมาก ผู้มีการศึกษา ต่างหวังที่จะก่อรัฐประหารเพื่อโค่นอำนาจกษัตริย์ ไปสู่ประชาธิปไตยเช่นเดียวกับประเทศสหรัฐอเมริกา

ต้นเหตุมาจาก สร้อยพระศอ
คาดินาล เดอ โรฮาน พระราชาคณะผู้มีประวัติอื้ฉาวว่า "ผู้ร่วมเตียงทั่วราชสำนักออสเตรีย" ซึ่ง แม้แต่จักรพรรดินี มาเรียเทเรซ่า พระมารดาของพระนางมารีอังตัวเนตต์ก็เคย "ร่วมเตียง" กับคาดินาล เดอ โรฮาน มาแล้ว ทำให้พระนางมารีอังตัวเนตต์ ชิงชังและกีดกันคาดินาล เดอ โรฮาน ออกจาวงสังคมในราชสำนัก ตัดความก้าวหน้าในอาชีพการงานแทบทุกทาง
ฌาน แซงเลมี เดอ วาลลัวส์ เคาเตส เดอลามอตต์ ผู้ซึ่งครอบครัวของนางถูกกษัตริย์ยึดที่ดินไป เมื่อสบโอกาส นางจึงเข้าทาง คาดินาล เดอ โรฮาน เพื่อตีสนิทเข้าหาราชินี ด้วยการอ้างตัวว่าเป็นคนสนิทของราชินี เพื่อเป็นเครื่องมือต่อรองให้กษัตริย์ไถ่คืนที่ดินให้แก่นาง เคาเตสยอมขนาดยอมเป็นเมียเก็บของคาดินาล แต่ก็ขอเบี้ยเรี่ยรายจากคาดินาลอยู่เสมอ
จวบจนกระทั่ง ช่างเพชรราชสำนักได้นำสร้อยเพชรมาเสนอขายต่อพระนางมารีอังตัวเนตต์ แต่ก็ถูกปฏิเสธ เพราะอ้างว่า ราชวงศ์ต้องการนำเงินไปใช้กับกองทัพมากกว่า พร้อมทั้งกำชับต่อช่างเพชรว่า ห้ามนำมันมาเสนอพระนางอีกเป็นอันขาด
ช่างเพชรผู้โชคร้ายจึงนำเครื่องเพชรดังกล่าวไปเสนอให้เคาเตส เดอลามอตต์ เพราะเข้าใจว่า นางเป็นคนสนิทของพระนางมารีอังตัวเนตต์ โดยอาจจะช่วยโน้มน้าวให้พระนางมารี อังตัวเนตต์ ซื้อสร้อยเพชรเส้นนี้ได้ ด้วยเหล่เหลี่ยม เคาเตส เดอ ลามอตต์ จึงนำสร้อยเพชรดังกล่าวไปเป็นข้อโกหกว่า พระนางมารี อังตัวเนตต์ต้องการ เคาเตสจึงล่อหลอกให้ คาดินาลซื้อไว้โดยให้คาดินาลค้ำประกันค่าสร้อยให้พระราชินี แทนการไถ่บาป เป็นเสมือนตั๋วเข้าสู่ราชสำนักอีกครั้ง
แต่สร้อยเพชรดังกล่าว ก็มิได้ถูกนำไปเสนอต่อราชินี เงินค้ำประกันทั้งหมด รวมทั้งตัวสร้อย ได้หายจ้อยไปอย่างไร้ร่องรอย พระเจ้าหลุยส์ ที่ 16 จึงนำตัวคาดินาล มาไต่สวน
พระคาดินาลที่ถูกไต่สวนก็พ้นข้อกล่าวหาเพราะว่าเป็นผู้เสียหาย เคาเตสเดอลามอตต์ ถูกจองจำในคุก บาส ติล เป็นเวลา 1 ปีเต็ม
แต่ประชาชนไม่อาจลืมเรื่องสร้อยเพชรเส้นนั้น พระนางมารี อังตัวเนตต์ถูกกล่าวหาผิดๆว่า มีส่วนในการซื้อสร้อยเพชรที่อื้อฉาวเส้นนี้ ซึ่งทำให้ประชาชนลุกฮือขึ้นต่อต้านกษัตริย์.....ซึ่งได้ทำการล้มราชวงศ์สำเร็จ ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในปี 1789
หลังจากถูกจองจำมานานกว่า 4 ปี และในที่สุด เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ปี 1793 คณะรัฐประหาร ได้ตัดสินประหารชีวิตพระนางมารีอังตัวเนตต์ ด้วยเครื่องกิโยติน เป็นการสิ้นสุดความยิ่งใหญ่ของราชินีแห่งฝรั่งเศสผู้อื้อฉาว