วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553

Jean de La Fontaine


"La Fontaine" redirects here. For other uses, see La Fontaine (disambiguation).
Jean de La Fontaine (July 8, 1621, Château-Thierry – April 13, 1695) was the most famous French fabulist and one of the most widely read French poets of the 17th century.

According to Flaubert, he was the only French poet to understand and master the texture of the French language before Hugo. A set of postage stamps celebrating La Fontaine and the Fables was issued by France in 1995. A film of his life was released in France in April 2007 (Jean de La Fontaine - le défi starring Laurent Deutsch).
Early years
La Fontaine was born at Château-Thierry in Champagne. His father was Charles de La Fontaine, maître des eaux et forêts - a kind of deputy-ranger - of the duchy of Château-Thierry; his mother was Françoise Pidoux. Both sides of his family were of the highest provincial middle class; though they were not noble, his father was fairly wealthy.

Jean, the eldest child, was educated at the collège (grammar school) of Reims, and at the end of his school days he entered the Oratory in May 1641, and the seminary of Saint-Magloire in October of the same year; but a very short sojourn proved to him that he had mistaken his vocation. He then apparently studied law, and is said to have been admitted as avocat (lawyer).

Career in Paris
Even in the earlier years of his marriage La Fontaine seems to have been much in Paris, but it was not until about 1656 that he became a regular visitor to the capital. The duties of his office, which were only occasional, were compatible with this non-residence. It was not until he was past thirty that his literary career began. The reading of Malherbe, it is said, first awoke poetical fancies in him, but for some time he attempted nothing but trifles in the fashion of the time - epigrams, ballades, rondeaux, etc.

His first serious work was a translation or adaptation of the Eunuchus of Terence (1654). At this time the Maecenas of French letters was the Superintendent Fouquet, to whom La Fontaine was introduced by Jacques Jannart, a connection of his wife's. Few people who paid their court to Fouquet went away empty-handed, and La Fontaine soon received a pension of 1000 livres (1659), on the easy terms of a copy of verses for each quarters receipt. He also began a medley of prose and poetry, entitled Le Songe de Vaux, on Fouquet's famous country house.

It was about this time that his wife's property had to be separately secured to her, and he seems by degrees to have had to sell everything that he owned; but, as he never lacked powerful and generous patrons, this was of small importance to him. In the same year he wrote a ballad, Les Rieurs du Beau-Richard, and this was followed by many small pieces of occasional poetry addressed to various personages from the king downwards.

Fouquet soon incurred the royal displeasure, but La Fontaine, like most of his literary proteges, was not unfaithful to him, the well-known elegy Pleurez, Nymphes de Vaux, being by no means the only proof of his devotion. Indeed it is thought not improbable that a journey to Limoges in 1663 in company with Jannart, and of which we have an account written to his wife, was not wholly spontaneous, as it certainly was not on Jannart's part.

Just at this time his affairs did not look promising. His father and he had assumed the title of esquire, to which they were not strictly entitled, and, some old edicts on the subject having been put in force, an informer procured a sentence against the poet fining him 2000 livres. He found, however, a new protector in the duke and still more in the Duchess of Bouillon, his feudal superiors at Chateau Thierry, and nothing more is heard of the fine.

Some of La Fontaine's liveliest verses are addressed to the duchess, Marie Anne Mancini, the youngest of Mazarin's nieces, and it is even probable that the taste of the duke and duchess for Ariosto had something to do with the writing of his first work of real importance, the first book of the Contes, which appeared in 1664. He was then forty-three years old, and his previous printed productions had been comparatively trivial, though much of his work was handed about in manuscript long before it was regularly published
La Fontaine's works
The numerous works of La Fontaine fall into three traditional divisions: the Fables, the Contes and the miscellaneous works. Of these the first may be said to be known universally, the second to be known to all lovers of French literature, the third to be with a few exceptions practically forgotten.


18th-century illustration to La Fontaine's fable The Sculptor and the Statue of Jupiter by Charles-Nicolas CochinThe Fables exhibit the versatility and fecundity of the author's talent more fully than any of his other work. La Fontaine had many predecessors in the fable, especially in the beast fable. The poet took inspiration from Aesop, Horace, Boccaccio and Ariosto and Tasso, Machiavelli's comedies and ancient Indian literature, such as the Panchatantra:

"This is the second book of fables that I present to the public... I must acknowledge that the greatest part is inspired from Pilpay, the Indian sage." ("Je dirai par reconnaissance que j’en dois la plus grande partie à Pilpay sage indien.") — Jean de La Fontaine, Avertissement to the Second Compilation of Fables (1678).
The first collection of 124 Fables Choisies had appeared March 31, 1668, wisely dedicated to "Monseigneur" Louis, le Grand Dauphin, the six-year-old son of Louis XIV of France and his Queen consort Maria Theresa of Spain. In this first issue, comprising what are now called the first six books, La Fontaine adhered to the path of his predecessors with some closeness; but in the later collections he allowed himself far more liberty, and it is in these parts that his genius is most fully manifested.

The boldness of the politics is as much to be considered as the ingenuity of the moralizing, as the intimate knowledge of human nature displayed in the substance of the narratives, or as the artistic mastery shown in their form. It has sometimes been objected that the view of human character which La Fontaine expresses is unduly dark, and resembles too much that of La Rochefoucauld, for whom the poet certainly had a profound admiration. It may only be said that satire (and La Fontaine is eminently a satirist) necessarily concerns itself with the darker rather than with the lighter shades.

Perhaps the best criticism ever passed upon La Fontaine's Fables is that of Silvestre de Sacy, to the effect that they supply delights to three different ages: the child rejoices in the freshness and vividness of the story, the eager student of literature in the consummate art with which it is told, the experienced man of the world in the subtle reflections on character and life which it conveys. Nor has any one, with the exception of a few paradoxers like Rousseau and a few sentimentalists like Lamartine, denied that the moral tone of the whole is as fresh and healthy as its literary interest is vivid. The book has therefore naturally become a standard French reader both at home and abroad. It is no small testimony to its merit that not even this use (or misuse) has interfered with its popularity.

La Fontaine's Fables provided a model for subsequent fabulists, including Poland's Ignacy Krasicki and Russia's Ivan Krylov.

วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

ภาวะโลกร้อน(Global Warming)


ภาวะโลกร้อน(Global Warming) หมายถึง การที่อุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศบนโลกสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอากาศบริเวณใกล้ผิวโลกและน้ำในมหาสมุทร ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมาอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นถึง 0.74 ± 0.18 องศาเซลเซียส และจากแบบจำลองการคาดคะเนภูมิอากาศพบว่าในปี พ.ศ. 2544 – 2643 อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 1.1 ถึง 6.4 องศาเซลเซียส

สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนก็เพราะว่าก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นจากการทำกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการเผาผลาญถ่านหินและเชื้อเพลิง รวมไปถึงสารเคมีที่มีส่วนผสมของก๊าซเรือนกระจกที่มนุษย์ใช้ และอื่นๆอีกมากมาย จึงทำให้ก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้ลอยขึ้นไปรวมตัวกันอยู่บนชั้นบรรยากาศของโลก ทำให้รังสีของดวงอาทิตย์ที่ควรจะสะท้อนกลับออกไปในปริมาณที่เหมาะสม กลับถูกก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้กักเก็บไว้ ทำให้อุณหภูมิของโลกค่อยๆสูงขึ้นจากเดิม

ผลกระทบของภาวะโลกร้อนนั้นก็มีให้เราเห็นกันอยู่บ่อยๆ สภาพลมฟ้าอากาศที่ผิดแปลกไปจากเดิม ภัยธรรมชาติที่รุนแรงมากขึ้น น้ำท่วม แผ่นดินไหว พายุที่รุนแรง อากาศที่ร้อนผิดปกติจนมีคนเสียชีวิต รวมไปถึงโรคระบาดชนิดใหม่ๆ หรือโรคระบาดที่เคยหายไปจากโลกนี้แล้วก็กลับมาให้เราได้เห็นใหม่ และพาหะนำโรคที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น

ในอนาคตคาดว่าผลกระทบของภาวะโลกร้อนจะรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ เราสามารถช่วยกันลดภาวะโลกร้อนได้หลายวิธี หลักๆก็เห็นจะเป็นการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าและประหยัด เพราะว่าพลังงานที่พวกเราใช้กันอยู่ทุกวันนี้กว่าจะมาถึงให้เราได้ใช้นั้น ต้องผ่านกระบวนการขั้นตอนในการผลิตมากมาย และแต่ละขั้นตอนก็จะทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกขึ้นมา เพราะฉะนั้นการลดใช้พลังงานก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ เช่น การปิดไฟเมื่อไม่ได้ใช้ การใช้น้ำอย่างประหยัด การใช้จักรยานแทนรถยนต์ในการเดินทางใกล้ๆ และอื่นๆอีกมากมาย

การปลูกต้นไม้ก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ อย่างที่เรารู้กันดีว่าในเวลากลางวัน ต้นไม้นั้นจะช่วยหายใจเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไป และหายใจออกมาเป็นก๊าซออกซิเจน เปรียบเสมือนเครื่องฟอกอากาศให้กับโลกของเราโดยแท้ แต่ทว่าปัจจุบันป่าไม้ถูกทำลายและมีจำนวนลดลงไปอย่างมาก ฉะนั้นถ้าเราทุกคนช่วยกันปลูกต้นไม้ ก็เหมือนกับช่วยเพิ่มเครื่องฟอกอากาศให้กับโลกของเรา

แคว้นโรน-อัลป์ ในฝรั่งเศส





แคว้นโรน-อัลป์ (ฝรั่งเศส: Rhône-Alpes / ฟรองโก-โปรวองซาล: Rôno-Arpes / อ็อกซิตัน: Ròse Aups) เป็นหนึ่งใน 26 แคว้นในประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศฝรั่งเศส ทิศเหนือติดกับแคว้นบูร์กอญและฟรองช์-กงเต ทิศตะวันตกติดกับแคว้นโอแวร์ญ ทิศใต้ติดกับแคว้นลองเกอด็อก-รูซียงและโปรวองซ์-อัลป์-โกต ดาซูร์ ส่วนทางทิศตะวันออกติดกับประเทศสวิตเซอร์แลนด์และอิตาลี

แคว้นโรน-อัลป์ได้ชื่อมาจากแม่น้ำโรนและเทือกเขาแอลป์ มีเมืองหลวงคือลียง ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นลำดับที่สองของประเทศฝรั่งเศส รองลงมาจากกรุงปารีส แคว้นโรน-อัลป์นี้ยังเป็นสถานที่ตั้งของยอดเขาที่สูงที่สุดในทวีปยุโรปตะวันตกอีกด้วย ซึ่งก็คือยอดเขามงต์บล็องก์ ภายในแคว้นมีแม่น้ำสองสายไหลผ่านคือแม่น้ำโรนและแม่น้ำโซน ซึ่งมาบรรจบกันที่เมืองหลวงลียง ทั้งยังมีแม่น้ำอาร์แดชอีกด้วย และยังพรมแดนติดต่อกับทะเลสาบเจนีวาและทะเลสาบอองเนอซี

ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการในแคว้นโรน-อัลป์ แต่มีภาษาท้องถิ่นที่พูดกันมากอยู่สองภาษาคือภาษาฟรองโก-โปรวองซาล ซึ่งถูกจัดว่าเป็นภาษาใกล้สูญพันธุ์และภาษาอ็อกซิตัน ประชาชนบางส่วนเป็นประชาชนอพยพมาจากประเทศโปแลนด์ อิตาลี โปรตุเกสและแอฟริกาเหนือ
ประวัติ
แม้ว่าจะมีประชาชนอาศัยอยู่ในแคว้นโรน-อัลป์มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ แต่ผู้ที่อาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินนี้ที่ได้มีการบันทึกไว้ชนชาติแรกคือ โกล เมืองอย่างเช่น "ลียง" (Lugdunum ในภาษาละติน มีชื่อมาจากเทพเจ้าลูของชาวโกล) ถูกค้นพบโดยพวกโกลและเป็นเมืองค้าขายระหว่างทางเหนือและใต้ ดินแดนส่วนมากได้กลายเป็นของอาณาจักรโรมันเมื่อจูเลียส ซีซาร์ได้เข้าโจมตีและยึดครอง ซึ่งทำให้เมืองลียงเป็นเมืองสำคัญแห่งหนึ่งของโรมัน

ทั้งแคว้น (ยกเว้นจังหวัดซาวัว) เคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรเมโรแว็งเชียงและกาโรแล็งเชียง ก่อนที่จะไปเป็นดินแดนภายใต้ราชวงศ์กาเปเตียงส์ และเมื่อได้เป็นส่วนหนึ่งของดินแดนของฝรั่งเศสแล้ว ประวัติศาสตร์ของแคว้นโรน-อัลป์จึงไม่ต่างจากแคว้นอื่นๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของประเทศฝรั่งเศส
การขนส่ง
แคว้นโรน-อัลป์เป็นศูนย์กลางการขนส่งและเดินทางของยุโรปที่สำคัญแห่งหนึ่ง โดยเชื่อมประเทศฝรั่งเศสตอนเหนือและยุโรปเข้ากับดินแดนบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ประชากรหลายล้านคนเดินทางผ่านมอเตอร์เวย์ในช่วงฤดูร้อนจากกรุงปารีสสู่ทะเลเพื่อพักผ่อน ถนนยุโรปสาย E15 (จากสหราชอาณาจักรไปยังสเปน) พาดตัวลงผ่านแคว้นโรน-อัลป์นี้ ทั้งยังมีสนามบินนานาชาติที่เมืองลียง แซงต์-เอเตียนน์และเกรอโนเบลอและสนามบินภายในประเทศอีกหลายแห่งอีกด้วย แคว้นแห่งนี้ยังเป็นศูนย์กลางของการขนส่งโดยรถไฟอีกด้วย เนื่องจากรถไฟฟ้าเตเชเว (TGV) แล่นผ่านกลางเมืองลียงจากเมืองหลวงปารีสอีกด้วย ทั้งนี้ยังมีการก่อสร้างรถไฟข้ามประเทศจากเมืองลียงไปยังโตริโนอีกด้วย
เศรษฐกิจ
แคว้นโรน-อัลป์เป็นแคว้นหนึ่งที่มีความร่ำรวย เพราะเศรษฐกิจของแคว้นนี้อยู่ในลำดับที่ 2 รองลงมาจากแคว้นอีล-เดอ-ฟรองซ์ ที่เป็นเช่นนี้ก็เนื่องมาจากผลผลิตที่หลากหลายและแตกต่างกันภายในแคว้น เช่นอุตสาหกรรมขนาดเบา เทคโนโลยีระดับสูงและเครื่องยนต์ เป็นต้น ทั้งยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศฝรั่งเศส เพราะมีเทือกเขาแอลป์อยู่ภายในบริเวณแคว้น การศึกษาของแคว้นโดยมหาวิทยาลัยชั้นนำที่เมืองลียงและเกรอโนเบลอเป็นสถานที่ดึงดูดให้มีผู้คนหลั่งใหลเข้ามาแลกเปลี่ยนเศษสตางค์กัน ณ แคว้นแห่งนี้

และเป็นที่น่าสนใจว่า บริเวณพื้นที่ๆ ติดกับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จะมีเศรษฐกิจคล้ายคลึงกับนครเจนีวาเป็นอย่างมาก ซึ่งทำให้หน้าที่เป็นเสมือนสถานที่ส่งสินค้าและอุตสาหกรรมของเจนีวาไปโดยปริยาย

กีฬา
แคว้นโรน-อัลป์เป็นเสมือนบ้านของสโมสรฟุตบอลทีสำคัญของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งรวมถึงสโมสรโอลิมปิก ลียงเนส์ (แชมเปี้ยนปัจจุบัน) และเอเอ็ส แซงต์-เอเตียนน์

วันเสาร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2553

ฌอง-ฌาค รุสโซ

ฌอง-ฌาค รุสโซ (Jean Jaques Rousseau) (28 มิถุนายน พ.ศ. 2255 - 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2321) เป็นนักปรัชญา นักเขียน นักทฤษฎีการเมือง และนักประพันธ์เพลงที่ฝึกหัดด้วยตนเอง แห่งยุคแสงสว่าง

ปรัชญาของรุสโซ
คำสอนของเขาสอนให้คนหันกลับไปหาธรรมชาติ { back to nature } เป็นการยกย่องคุณค่าของคนว่า "ธรรมชาติของคนดีอยู่แล้วแต่สังคมทำให้คนไม่เสมอภาคกัน" เขาบอกว่า "เหตุผลมีประโยชน์ แต่มิใช่คำตอบของชีวิต ดังนั้นเราจึงต้องพึ่งความรู้สึก สัญชาตญาณและอารมณ์ของเราเอง ให้มากกว่าเหตุผล"

ทฤษฎี 'คนเถื่อนใจธรรม'
รุสโซเชื่อว่ามนุษย์นั้นเป็นคนดีโดยธรรมชาติ หรือเป็น "คนเถื่อนใจธรรม" (noble savage) เมื่ออยู่ในสภาวะธรรมชาติ (สภาวะเดียวกันกับสัตว์อื่นๆ และเป็นสภาพที่มนุษย์อยู่มาก่อนที่จะมีการสร้างอารยธรรม และสังคม) แต่ถูกทำให้แปดเปื้อนโดยสังคม เขามองสังคมว่าเป็นสิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้น และเชื่อว่าการพัฒนาของสังคม โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของการพึ่งพากันในสังคมนั้น เป็นสิ่งที่อันตรายต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์

ความเรียงชื่อ "การบรรยายเกี่ยวกับศิลปะและวิทยาศาสตร์" (พ.ศ. 2293) ที่ได้รับรางวัลของเมือง ได้อธิบายว่าความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์นั้น ไม่เป็นประโยชน์กับมนุษย์ เขาได้เสนอว่าพัฒนาการของความรู้ทำให้รัฐบาลมีอำนาจมากขึ้น และทำลายเสรีภาพของปัจเจกชน เขาสรุปว่าพัฒนาการเชิงวัตถุนั้น จะทำลายโอกาสของความเป็นเพื่อนที่จริงใจ โดยจะทำให้เกิดความอิจฉา ความกลัว และ ความระแวงสงสัย

งานชิ้นถัดมาของเขา การบรรยายว่าด้วยความไม่เสมอภาค ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาและการทำลายของมนุษย์ ตั้งแต่ในสมัยโบราณ จนถึงสมัยใหม่ เขาเสนอว่ามนุษย์ในยุคแรกสุดนั้น เป็นมนุษย์ครึ่งลิงและอยู่แยกกัน มนุษย์แตกต่างจากสัตว์เนื่องจากมีความต้องการอย่างอิสระ (free will) และเป็นสิ่งที่สามารถแสวงหาความสมบูรณ์แบบได้ เขายังได้กล่าวว่ามนุษย์ยุคบุคเบิกนี้มีความต้องการพื้นฐาน ที่จะดูแลรักษาตนเอง และมีความรู้สึกห่วงหาอาทรหรือความสงสาร เมื่อมนุษย์ถูกบังคับให้ต้องมีความสัมพันธ์กันมากขึ้นเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากร จึงได้เกิดการปรับเปลี่ยนทางด้านจิตวิทยา และได้เริ่มให้ความสำคัญกับความคิดเห็นของคนอื่น ๆ ว่าเป็นสิ่งสำคัญต่อการมีชีวิตที่ดีของตนเอง รุสโซได้เรียกความรู้สึกใหม่นี้ ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการผลิบานของมนุษย์

สัญญาประชาคม



สัญญาประชาคม (ในความหมายที่นำมาใช้ในการเมืองไทยปัจจุบัน) หมายถึง ความตกลงร่วมกันของประชาชน กลุ่มผลประโยชน์ร่วมกันหรือกลุ่มคนที่มีแนวความคิดเดียวกัน กับฝ่ายตรงข้าม เพื่อเป็นการแสวงความตกลงและทางออกของปัญหาซึ่งเป็นปัญหาที่มีผลกระทบในวงกว้างซึ่งหากปล่อยไว้อาจจะก่อให้เกิดความแตกแยกในสังคม

ความหมายที่แท้จริงนั้น "สัญญาประชาคม"(Social Contract) หมายถึง ทฤษฎีสัญญาประชาคม อันเป็นนัยตามหลักกฎหมายธรรมชาติ มีลักษณะเป็น สำนึกของจริยธรรม ที่ผู้ปกครองควรตระหนักถึง สิทธิบางประการที่ผู้อยู่ใต้ปกครอง (ประชาคม) ได้ยอมสละไป (อาจเรียกได้ว่ายอมอยู่ใต้อำนาจของผู้ปกครอง) เพื่อความปลอดภัยของตนในสิทธิและเสรีภาพที่ยังคงเหลืออยู่ แนวคิดเช่นนี้เองที่เป็นพื้นฐานของการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย โดยตรรกกะจากสำนึกจริยธรรมดังกล่าว หากมองในมุมกลับกันก็หมายความว่า อำนาจแท้จริงของผู้ปกครองนั้นมาจากประชาชนนั่นเอง ดังนั้นประชาชนควรจะเป็นผู้ที่ใช้สิทธิของตนเลือกผู้ปกครองขึ้นมา และในการนี้วิธีที่เหมาะสมก็คือการใช้เสียงข้างมากในการตัดสิน

มีนักคิดหลายคนที่ถือว่าเป็นผู้มีส่วนในการริเริ่มแนวคิดเรื่องสัญญาประชาคม เช่น

โทมัส ฮอบบ์ - Thomas Hobbes) ปรากฏอยู่ในหนังสือ Leviathan (1651)
จอห์น ลอค - John Locke) ปรากฏในหนังสือ Two Treatises of Government (1689)
(ฌองค์ ยาร์ค รุสโซ่ - Jean Jacques Rousseau) ปรากฏอยู่ในหนังสือ Du Contrat social (1762)

อย่างไรก็ตามจุดริเริ่มแนวคิดนี้ในหนังสือ Leviathan (The Matter, Forme and Power of a Common Wealth Ecclesiasticall and Civil) นั้น ฮอบบ์ไม่ได้เขียนเพื่อมุ่งกล่าวถึงสัญญาประชาคมโดยเฉพาะเจาะจง แต่มุ่งอธิบายถึงธรรมชาติของมนุษย์และโครงสร้างสังคม เป็นที่น่าสังเกตว่า ตัวฮอบบ์เองนั้นปฏิเสธหลักการแบ่งอำนาจอธิปไตย ไม่ปฏิเสธระบอบกษัตริย์ แต่กล่าวถึงแนวทางการใช้อำนาจที่เหมาะสมเท่านั้น