วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2552

วันนี้ในอดีต !!

3 ส.ค.

Edison กับ X-Rays ในปี 1903 มีข่าวหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ New York World ในเรื่อง Thomas Edison's เกี่ยวกับการบาดเจ็บจาก X-Ray ภายใต้หัวข้อข่าวว่าเอดิสันมีความกลัวอันตรายที่มองไม่เห็นของรังสีเอ๊กซ์ "Edison Fears Hidden Perils of the X-rays" และได้ลงรายละเอียดประวัติการบาดเจ็บของพนักงานของเอดิสัน โดย Clarence Dally ซึ่งถูกตัดมือและแขนเนื่องจากจากมะเร็งที่เกิดจากการได้รับรังสีเอ๊กซ์ ตัวเอดิสันเองก็เคยได้รับบาดเจ็บที่ดวงตา 2 ปีก่อนนั้น จากการมองที่เครื่อง X-ray fluoroscope ของเขา ทำให้มีปัญหาในการโฟกัสภาพของดวงตาข้างซ้าย และทำให้เขาต้องทำการวิจัยเกี่ยวกับรังสีเอ๊กซ์เพิ่มขึ้นอีกมาก เอดิสันได้กล่าวไว้ใน "Wizard of Menlo Park" ว่าเขามีความกลัวเรเดียมและโปโลเนียมเช่นกัน จึงไม่ต้องการเป็นสัตว์ทดลองกับสิ่งเหล่านี้

Edison กับการเรืองแสงของเรเดียม
ในปี 1903 หนังสือพิมพ์ New York World ได้ตีพิมพ์บทความแสดงความเห็นของ Thomas Edison's เกี่ยวกับเรเดียม โดยกล่าวว่าเขาได้รับเรเดียมจำนวนหลายชิ้น ของมาดามคูรี จากฝรั่งเศส ได้เคยทำการทดลอง แต่ยังไม่เห็นทางที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ แต่คิดว่าจะเป็นสิ่งที่เปิดโลกการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างมาก ทำให้สามารถพลิกทฤษฎีเกี่ยวกับแรงและพลังงาน นอกจากนั้นเอดิสันได้กล่าวว่า เขามีทฤษฎีแปลกๆเกี่ยวกับเรเดียม และเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง โดยเขาเชื่อว่าในจักรวาลมีรังสีประหลาดบางอย่างกระจายอยู่ทั่วไป พลังงานเหล่านี้ไม่มีโครงสร้างของตัวเอง แต่มีบางอย่างอยู่ในบรรยากาศ ที่นักวิทยาศาสตร์ยังค้นไม่พบ ที่ทำให้ยึดอะตอมอยู่

5. ส.ค.

สนธิสัญญาจำกัดการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ (Limited Test Ban Treaty) ในปี 1963 อังกฤษ อเมริกา และรัสเซีย ได้ลงนามในสนธิสัญญาจำกัดการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ ที่กรุงมอสโคว์ เพื่อห้ามการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ หรือระเบิดนิวเคลียร์ชนิดอื่นในบรรยากาศ ในอวกาศ และใต้น้ำ ส่วนการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ใต้ดิน จะต้องไม่ทำให้กัมมันตภาพรังสีแพร่ออกไปนอกพื้นที่จำกัด ในประเทศของตนเอง โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะหยุดการทำให้เกิดการปนเปื้อน สารกัมมันตรังสีต่อสิ่งแวดล้อม การลงนามในสนธิสัญญาฉบับนี้ เป็นผลจากการเจรจามากกว่า 8 ปี ในการที่จะแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับแนวคิด ในเรื่องของความปลอดภัยและการควบคุมอาวุธนิวเคลียร์ และก่อนที่สัญญาฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ ในวันที่ 10 ตุลาคม 1963 ได้มีประเทศเข้าร่วมลงนามทั้งหมด 108 ประเทศ

ระเบิดปรมาณู (Atomic Bomb)
เมื่อปี 1945 ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐอเมริกาได้ทิ้งระเบิดปรมาณูลงที่ เมืองฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น

8. ส.ค.

การประชุมเรื่องพลังงานปรมาณู (Atomic energy conference) เมื่อ ปี 1955 ได้มีการประชุม เพื่อปรึกษากันถึงเรื่องการใช้พลังงานปรมาณูในทางสันติ ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์

9 ส.ค.

การทิ้งระเบิดปรมาณู (Atomic bomb dropped) เมื่อปี 1945 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐอเมริกาได้ทิ้งระเบิดปรมาณูลงที่ เมืองนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่น

12 ส.ค.
ระเบิดไฮโดรเจนของโซเวียต Soviet H-bomb เมื่อปี 1953 สหภาพโซเวียตได้จุดระเบิดไฮโดรเจนลูกแรก ที่ Kazakhstan ภายหลังจากที่ประธานาธิบดี แฮรี ทรูแมน ประกาศว่าสหรัฐอเมริกาได้พัฒนาระเบิดไฮโดรเจน เมื่อวันที่ 7 มกราคม 1953 ได้ไม่ถึงปี สหภาพโซเวียต ได้ตีพิมพ์ข่าวเรื่องระเบิดไฮโดรเจนลูกแรกลงในหนังสือพิมพ์ เมื่อวันที่ 20 มกราคม 1953 ซึ่งมีแรงระเบิดเทียบเท่ากับ ระเบิด TNT 400 กิโลตัน มากกว่าระเบิดปรมาณูที่ทิ้งลงที่ฮิโรชิมา 30 เท่า ระเบิดไฮโดรเจนของสหภาพโซเวียตออกแบบโดยใช้ "Layer Cake" ขนาดเล็กพอดีกับเครื่องบิน เพื่อให้สามารถขนส่งได้สะดวก ทำให้มีขีดจำกัดของปริมาณเชื้อเพลิงเทอร์โมนิวเคลียร์และแรงระเบิด ซึ่งแตกต่างจาก ระเบิดเทอร์โมนิวเคลียร์ของสหรัฐ ชื่อ Mike ที่ทำการทดลองเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 1952 ที่ออกแบบให้มีระเบิดได้สูง

13 ส.ค.

ไอออนของฮีเลียมจากเรเดียม (Helium ions from radium)เมื่อปี 1903 วารสาร Nature ได้รายงานว่ากาซฮีเลียมสามารถผลิตได้จากการสลายตัวของเรเดียม หลักการนี้ค้นพบโดย William Ramsay และ Frederick Soddy ซึ่งช่วยเปิดเผยถึงโครงสร้างของอะตอม ในปี 1908 รัทเธอฟอร์ด ได้ยืนยันว่า รังสีอัลฟาที่ออกมาจากเรเดียม มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับ นิวเคลียสของอะตอมของธาตุฮีเลียม โดยมีประจุไฟฟ้าเป็นบวก ทั้งหมดได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี โดย Ramsey ได้รับในปี 1904 จากการค้นพบกาซเฉื่อย Rutherford ได้รับในปี 1908 จากการค้นพบการสลายตัวของธาตุ Soddy ได้รับในปี 1921 ในการเป็นผู้บุกเบิก ในการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจ เกี่ยวกับคุณบัติทางเคมี ของธาตุกัมมันตรังสี เช่น เรเดียม และยูเรเนียม

16 ส.ค.

ชื่อธาตุที่ 110 (Element 110 named) เมื่อปี 2003 นักเคมีที่กรุงออตตาวาได้ลงมติในการเสนอชื่อธาตุที่ 110 ว่า Darmstadtium, และใช้สัญลักษณ์ Ds ซึ่งค้นพบที่ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์พลังงานสูงในเยอรมันนี ในปี 1994 ซึ่งธาตุที่ 110 ถูกสร้างขึ้นโดยมีอายุไม่ถึง 1/1000 วินาทีนี้ ทีมนักวิทยาศาสตร์ของศูนย์วิจัยไอออนหนัก ซึ่งมีชื่อย่อว่า GSI ในเยอรมันนีเป็นผู้ค้นพบและเสนอชื่อ เพื่อเป็นที่ระลึกให้แก่เมือง Darmstadt โดย IUPAC (International Union of Pure and Applied Chemistry) ซึ่งเป็นองค์กรที่มีนักเคมีจากกว่า 80 ประเทศ จะเป็นผู้คัดเลือกชื่อธาตุที่เป็นทางการ สัญลักษณ์ และเทอมที่ใช้ทางวิทยาศาสตร์

18 ส.ค.

ฮีเลียม (Helium) เมื่อปี 1868 Pierre Janssan ได้ค้นพบขณะที่เกิดสุริยคราส ว่ามีสเปกตรัมของธาตุฮีเลียมอยู่ในแสงอาทิตย์

19 ส.ค.

พลังงานปรมาณูในเชิงพาณิชย์ (Commercial atomic energy) เมื่อปี 1960 เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูเชิงพาณิชย์เครื่องแรก และเป็นเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู เครื่องที่ 3 ของสหรัฐอเมริกา ได้เดินเครื่องจนปฏิกิริยานิวเคลียร์ถึงระดับคงที่ และเริ่มจ่ายไฟฟ้าเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 1960 โดยเป็นของบริษัท Yankee Atomic Electric Company มีมูลค่า 57 ล้านเหรียญ ตั้งอยู่ที่เมือง Rowe รัฐแมสซาชูเซตต์ ริมฝั่งแม่น้ำ Deerfield เครื่องปฏิกรณ์แบบ pressurized light-water reactor เครื่องนี้ให้กำลังไฟฟ้า 125,000 กิโลวัตต์ โดยบริษัทที่เป็นเจ้าของ เกิดจากการรวมตัวของ 12 บริษัทใน New England โดยให้ Westinghouse Corporation เป็นผู้ดำเนินการหลัก หลังจากการเดินเครื่อง 31 ปี เครื่องปฏิกรณ์ปิดตัวลงเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 1992 และใบอนุญาตได้หมดอายุลงในปี 1993

20 ส.ค.

ระเบิดไฮโดรเจนของโซเวียต (Soviet H-bomb) เมื่อปี 1953 หนังสือพิมพ์ของสหภาพโซเวียตได้เสนอข่าวการทดลองระเบิดไฮโดรเจน

22 ส.ค.

เรือนิวเคลียร์ Nuclear ship ในปี 1962 มีการปล่อยเรือเดินสมุทรพลังงานนิวเคลียร์ลำแรกชื่อ The Savannah ที่ท่าเรือเมือง Yorktown รัฐเวอร์จิเนีย ไปยังเมือง Savannah รัฐจอร์เจีย

เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ (Nuclear reactor) เมื่อปี 1950 เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัย Brookhaven Graphite Research Reactor (BGRR) ซึ่งเป็นเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่นำมาประยุกต์ใช้ในทางสันติเครื่องแรก เดินเครื่องถึงค่าวิกฤต โดยมีรูปแบบเดียวกับเครื่องปฏิกรณ์ฯ ที่ประสบความสำเร็จที่ห้องปฏิบัติการ Oak Ridge National Laboratory มีการออกแบบและปรับปรุงอุปกรณ์ ทำให้ BGRR สำหรับใช้ในงานวิจัยด้านการแพทย์ ชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ และวิศวกรรมนิวเคลียร์ แกนเครื่องปฏิกรณ์ฯ ประกอบด้วยลูกบาศก์กราไฟต์ ขนาด 25 ฟุต จำนวน 700 ตัน มียูเรเนียมเป็นเชื้อเพลิง อยู่ภายในกำแพงเหล็กกล้า และคอนเกรีตความหนาแน่นสูง หนา 5 ฟุต มีเชื้อเพลิงทั้งหมด 1,369 แท่ง โดยมีการใช้งานครั้งละประมาณครึ่งหนึ่ง มีการควบคุมปฏิกิริยานิวเคลียร์ โดยการสอดแท่งเหล็กผสมโบรอน ลงไปในแกนเครื่องปฏิกรณ์ฯ

24 ส.ค.

ระเบิดไฮโดรเจนของฝรั่งเศส (French H-bomb) เมื่อปี 1968 ฝรั่งเศสได้จุดระเบิดไฮโดรเจน ในการทดลองที่แปซิฟิกใต้ ซึ่งนับเป็นการทดลองระเบิดเทอร์โมนิวเคลียร์ครั้งที่ 5 ของโลก มีชื่อปฏิบัติการว่า Canopus ระเบิดมีขนาด 3 ตัน ใช้บอลลูนนำไปจุดระเบิดที่ความสูง 600 เมตร เหนือ หมู่เกาะ Fangataufa Atoll ห่างจากหมู่เกาะ Moruroa ไปทางตะวันตะวันออกเฉียงใต้ 41 กิโลเมตร โครงการนี้มีนักฟิสิกส์หนุ่มชื่อ Roger Dautry เป็นหัวหน้าโครงการ นับเป็นระเบิดนิวเคลียร์ขนาดใหญ่ที่สุดของฝรั่งเศส มีแรงระเบิด 2.6 เมกกะตัน ใช้เชื้อเพลิงเป็น lithium-6 deuteride อยู่ภายในยูเรเนียม (highly enriched uranium) การปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี ทำให้มีการห้ามอยู่อาศัยบนหมู่เกาะนี้เป็นเวลา 6 ปี

27 ส.ค.

แกลเลียม (Gallium) เมื่อปี 1875 P.E. Lecoq de Boisbaudran ได้ค้นพบธาตุแกลเลียม ในบทความในวารสาร the Annales de Chimie ที่ตีพิมพ์ในปี 1877 เขากล่าวว่าได้เริ่มต้นการค้นหาธาตุนี้มาแล้ว 15 ปี แต่เนื่องจากมีปริมาณวัตถุดิบไม่เพียงพอ จนกระทั่งเดือนกุมภาพันธ์ ปี 1874 จึงได้รับแร่จำนวน 52 กิโลกรัมจากเหมือง Pierrefitte และสกัดตัวอย่างออกมาได้จำนวนเล็กน้อย (ประมาณ 1/100 มิลลกรัม) ในคืนวันที่ 27 สิงหาคม 1875 เวลา 3-4 นาฬิกา จากเครื่องวิเคราะห์แบบสเปกโตรสโคปี แสดงถึงแถบสีม่วงที่ความยาวคลื่น 417.0 แสดงถึงธาตุใหม่ ที่ไม่ตรงกับธาตุใดที่เคยทราบมาก่อน

29 ส.ค.

ธาตุที่ 109 (Element 109) เมื่อปี 1982 มีการสร้างอะตอมของธาตุใหม่ขึ้นมา และตั้งชื่อว่า Meitnerium ใช้สัญลักษณ์ Mt โดยนักฟิสิกส์จากศูนย์วิจัยไอออนหนัก (Heavy Ion Research Laboratory) ที่ Darmstadt ประเทศเยอรมันนี และพบว่าเป็นธาตุที่ 109 โดยการเร่งนิวเคลียสของ Fe-58 ให้ยิงใส่ไอโซโทป Bi-209 เป็นเวลา 1 สัปดาห์ จึงได้นิวเคลียสที่เกิดจากการรวมกันของนิวเคลียสทั้งสอง ทีมวิจัยได้แยกกันทำการทดลองซ้ำ 4 ครั้ง เพื่อยืนยันว่าเป็นธาตุที่ 109 นิวเคลียสที่เกิดขึ้น สลายตัวด้วยเวลา 5 มิลลิวินาที หลังจากที่ชนกับเครื่องวัด การทดลองนี้แสดงถึง การใช้เทคนิคการหลอมรวมนิวเคลียส เพื่อสร้างนิวเคลียสหนักของธาตุใหม่

ระเบิดปรมาณูลูกแรกของสหภาพโซเวียต (USSR's first atomic bomb) เมื่อปี 1949 สหภาพโซเวียตได้ทำการทดลองระเบิดปรมาณูลูกแรก ซึ่งเป็นระเบิดแบบพลูโตเนียม โดยทำการระเบิดที่พื้นที่ Semipalatinsk โดยมีแรงระเบิด 20 กิโลตัน สหรัฐอเมริกาเรียกว่าทดลองนี้ว่า Joe No. 1 (Joe เป็นชื่อเล่นของ Y. Stalin) การทดลองนี้ทำสำเร็จเร็วกว่าที่ฝ่ายตะวันตกคาดไว้ 5 ปี ส่วนหนึ่งเนื่องจากสายลับที่ชื่อ Klaus Fuchs ซึ่งเป็นนักฟิสิกส์ที่ Los Alamos ได้นำรายละเอียดของพิมพ์เขียว ต้นแบบระเบิดปรมาณูของสหรัฐอเมริกาที่ Trinity ไปให้แก่รัสเซีย ความสำเร็จในการทดลองของรัสเซีย ทำให้หมดยุคที่สหรัฐอเมริกาผูกขาดอาวุธปรมาณู จึงได้เร่งโครงการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ขนานใหญ่ และทำให้โลกเริ่มเข้าสู่ยุคสงครามเย็น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น