วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553
วิหารอาบูซิมเบล
วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553
ฟาโรห์ตุตันคามุน
หน้ากากทองคำขององค์ฟาโรห์ตุตันคามุน
ไม่กี่เดือนหลังจากการเปิดสุสานตุตันคาเมน เปิดเมื่อปี 1922 ผู้ร่วมพิธีเปิดในวันนั้นเสียชีวิตไป 22 คน ด้วยเหตุการณ์ลึกลับและหาคำอธิบายไม่ได้ทำให้เชื่อกันว่า ความตายเหล่านั้นเกิดขึ้นเพราะฤทธิ์คำสาป
วันที่ 4 พฤศจิกายน 1922 โฮเวิร์ด คาร์เตอร์(Howard Carter) และลอร์ด คาร์นาวอน(Lord Carnarvon) ชาวอังกฤษค้นพบสิ่งที่น่าตื่นเต้นที่สุดในโลก พวกเขาเป็นสองคนแรกที่เข้าไปในสุสานของตุตันคาเมนในรอบ 3,000 ปี ในห้องที่พวกเขาพบเต็มไปด้วยทองคำและของมีค่ามากมาย ซึ่งเจ้าของของสิ่งมีค่าเหล่านี้คือฟาโรห์หนุ่มที่มีพระนามว่า "ตุตันคาเมน" นั่นเองและเหนือสุสานนี้มีข้อความอักษรอียิปต์โบราณซึ่งแปลได้ว่า "มัจจุราชจะมาสู่ผู้ซึ่งรบกวนการบรรทมของฟาโรห์"
สอง เดือนต่อมาลอร์ดคาร์นาร์วอน ก็ตายเพราะถูกยุงกัดทำให้เป็นนิวมอเนีย แต่ที่น่าประหลาดอย่างยิ่งที่มัมมี่ของยุวกษัตริย์ฟาโรห์ก็มีรอยยุงกัดที่ แก้มซ้าย ซึ่งเป็นจุดเดียวกับที่ ลอร์ดคาร์นาร์วอน ถูกยุงกัดเหมือนกัน หลังจากนั้นไม่นานนัก อาร์เธอร์ แมค นักโบราณคดีอเมริกันซึ่งร่วมทีมกันขุดสุสานครั้งนี้ด้วย ได้อุทธรณ์ว่าเขารู้สึกเหนื่อยอ่อน แล้วทันใดนั้นก็เข้าขั้นโคม่าเขาหมดลมก่อนที่หมอจะมาถึง และทางแพทย์ก็ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเขาตายด้วยโรคอะไร
ต่อมาก็เป็นผู้เชี่ยวชาญไอยคุปต์อีกคนหนึ่ง เขาคือ จอร์จ กูล์ด เพื่อนสนิทของคาร์นาร์วอน ซึ่งได้รีบเดินทางมาอียิปต์หลังจากได้ทราบข่าวมรณกรรมของคาร์นาร์วอน กูลด์ ได้เดินทางไปที่สุสานของฟาโรห์ ในวันต่อมาเขาล้มฟุบลงด้วยเป็นไข้ขึ้นสูง อีก 12 ชั่วโมง ต่อมาเขาถึงแก่กรรม อาร์ซิบัลด์ เรียด นักรังสีวิทยาที่ฉายเอ็กซ์เรย์มัมมี่พระศพฟาโรห์ได้ถูกส่งตัวกลับอังกฤษ เพราะเกินอ่อนเปลี้ยไร้เรี่ยวแรงขึ้นมาเฉย ๆ แล้วก็ถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา
ริชาร์ด เบธเฮลล์ เลขาส่วนตัว คาร์นาร์วอน ในการขุดค้นสุสานครั้งนี้พบว่านอนตายอยู่บนเตียงเนื่องจากหัวใจวาย
โจเอล วูล ซึ่งเป็นแขกเชิญชุดแรกที่ไปดูสุสาน ตายในเวลาถัดมาไม่นานนัก ด้วยไข้ลึกลับที่แพทย์ไม่สามารถวินิจฉัยได้
ภายในเวลา 6 ปีที่มีการขุดสุสานฟาโรห์ตุตันคาเมน ผู้ที่ได้ร่วมขุดค้นได้ตายไปถึง 12 คน และภายใน 7 ปีมีเพียง 2 คนเท่านั้นที่ร่วมในการขุดมีชีวิตอยู่ นอกจากนี้ยังมีผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือใกล้ชิดผู้ที่ขุดสุสานจำนวน เกือบ 22 คน ได้ถึงแก่กรรมในเวลาไม่สมควร เช่น เลดี้คาร์นาร์วอน อีกคนหนึ่งทีฆ่าตัวตายด้วย เนื่องจากเกิดเป็นบ้าขึ้นมา มีผู้เดียวที่ร่วมเป็นหัวหน้าในการขุดสุสานฟาโรห์ที่โชคดีมีชีวิตอยู่คือ โฮเวิร์ด คาร์เตอร์ เขาตายตามธรรมชาติ เมื่อปี 1939
โฮเวิร์ดกับพระศพของ King Tutankhamun
วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553
หุบผากษัตริย์
วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553
เมืองอเลกซานเดรีย
หลังจากที่จักรวรรดิโรมันได้รวบรวมอียิปต์เข้าเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของตนนั้น เมืองอเล็กซานเดรียยังนับว่ารุ่งเรืองอยู่ มีอยู่ระยะหนึ่งได้เป็นศูนย์กลางที่สำคัญแห่งหนึ่งในสามของศาสนาคริสต์ มรดกชิ้นหนึ่งที่ชาวโรมันทิ้งไว้และได้กลายเป้นหนึ่งในสิ่งมหัสจรรย์ของ โลกยุคกลาง นั่นคือหลุมฝังศพใต้ดินแห่งอเล็กซานเดรีย หรือ Catacombs
เมื่อชาวอาหรับเข้ามาแทนที่ชาวโรมันในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 7 เมืองหลวงย้ายไปอยู่ที่ไคโร เมืองอเล็กซานเดรียกลายเป็นศูนย์ กลางการค้าขายระหว่างซีกโลกตะวันตกและตะวันออก เป็นต้นว่าเครื่องเทศ เครื่องแก้ว และของฟุ่มเฟือยทั้งหลาย
ปัจจุบันอเล็กซานเดรียเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสอง และมีความสำคัญรองจากกรุงไคโรเท่านั้น โรงงานอุตสาหกรรมประมาณ 65% ของประเทศมาตั้งอยู่ที่นี่และเมืองใกล้เคียง นอกจากนี้ สินค้ากว่า 80% ที่ส่งออกและนำเข้าต้องมาผ่านเมืองท่าแห่งนี้
แม้เมืองอเล็กซานเดรียได้กลายเป้นเมืองอุตสาหกรรมและเมืองท่านานาชาติไปแล้ว แต่ยังสามารถชักจูงนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลก โดยเฉพาะโบราณสถานและโบราณวัตถุที่หลงเหลือยู่ ใครที่สนใจของเหล่านี้ก็มาได้ เพราะติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นเมืองตากอากาศที่มีชื่อ เสียงแห่งหนึ่งของโลก
วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553
ประเทศอียิปต์
جمهورية مصر العربية (อาหรับ)
ธงประจำชาติ
สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ (Arab Republic of Egypt) หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า อียิปต์ (Egypt) (อาหรับ: مصر (มิศรุ), ถ่ายเขียนเป็นอักษรโรมันว่า Mişr หรือ Maşr ในภาษาถิ่นของอียิปต์) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือที่มีประชากรมากที่สุด
ประเทศอียิปต์มีพื้นที่ประมาณ 1,020,000 กม.² ซึ่งรวมถึงคาบสมุทรซีนาย (ถ้าเป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้) ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศตั้งอยู่ในแอฟริกาเหนือ มีพรมแดนด้านตะวันตกติดกับประเทศลิเบีย ด้านใต้ติดกับประเทศซูดาน ด้านตะวันออกเฉียงเหนือติดกับประเทศอิสราเอล ชายฝั่งทางเหนือติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และทางตะวันออกติดกับทะเลแดง
ประชากรอียิปต์ส่วนใหญ่อาศัยบนทั้งสองฝั่งของแม่น้ำไนล์ (ประมาณ 40,000 กม.2) และคลองสุเอซ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นส่วนของทะเลทรายสะฮารา และมีผู้คนอาศัยอยู่เบาบาง
ประเทศนี้มีชื่อเสียงในด้านอารยธรรมโบราณ รวมถึงอนุสาวรีย์โบราณที่น่าตื่นตาที่สุดในโลก ได้แก่ พีระมิด อารามคาร์นัค และหุบเขากษัตริย์ (Valley of the Kings) ในปัจจุบัน อียิปต์ถือว่าเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและวัฒนธรรมของโลกอาหรับ
ชื่อ Egypt มาจากชื่อภาษาละตินว่า Aegyptus และชื่อภาษากรีก ว่า Αιγυπτος (Aiguptos: ไอกึปตอส นิยมใช้ในภาษาไทยว่า ไอยคุปต์) จากภาษาอียิปต์โบราณว่า Hi-ku-ptah: ฮิ-คุ-ปตาห์ ซึ่งเป็นชื่ออารามที่เมืองเมืองเทเบส
♥ ประวัติ
ประเทศอียิปต์เป็นประเทศทีมีประวัติศาสตร์ยาวนาน ถึง 5,000 กว่าปี
ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1882 อังกฤษส่งเรือรบไปยังเมืองท่าอเล็กซานเดรีย และยึดครองอียิปต์ได้สำเร็จ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 อังกฤษได้ประกาศว่าอียิปต์เป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษ แต่หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ชาวอียิปต์ที่รักชาติได้เคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราช ใน ค.ศ. 1922 อังกฤษได้ให้เอกราชแก่อียิปต์ โดยเมื่อแรกรับเอกราช อียิปต์ได้ปกครองโดยราชวงศ์มูฮัมหมัดอาลี ที่สืบเชื้อสายจากสุลต่านแห่งอียิปต์ โดยสุลต่านฟูอัด ได้สถาปนาพระองค์เป็น พระเจ้าฟูอัดที่ 1 แห่งอียิปต์ และปกครองต่อมาอีกสองพระองค์คือ พระเจ้าฟารุกที่ 1 แห่งอียิปต์ และพระเจ้าฟูอัดที่ 2 แห่งอียิปต์ ก็เป็นอันสิ้นสุดราชวงศ์มูฮัมหมัดอาลี และระบอบกษัตริย์แห่งอียิปต์ โดยได้มีการทำรัฐประหารเป็นระบอบสาธารณรัฐจนถึงปัจจุบัน
♥ ภูมิศาสตร์
ที่ตั้ง อียิปต์ตั้งอยู่บนมุมสุดทางตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา และบริเวณเหนือข้ามคลองสุเอซไปในคาบสมุทรไซนาย
— ภาคเหนือมีอาณาเขตติดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
— ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ติดอิสราเอล
— ภาคตะวันออก ติดทะเลแดง
— ภาคใต้ ติดซูดาน
— และติดลิเบียทางภาคตะวันตก
อียิปต์เป็นประเทศที่มีแผ่นดินเชื่อมต่อระหว่างทวีปแอฟริกากับเอเชีย ผ่านตะวันออกกลาง ซึ่งจะเป็นจุดเชื่อมต่อที่มีความสำคัญมาแต่โบราณ หลังจากได้มีการขุดและเปิดใช้คลองสุเอซ เมื่อปี พ.ศ. 2412 (ค.ศ. 1869) เส้นทางผ่านคลองสุเอซของอียิปต์ได้กลายเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก
♥ ประชากร
มีจำนวนประมาณ 70 ล้านคน (ปี 2547) อยู่ในเขตเมืองร้อยละ 45 ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามบริเวณ 2 ฝั่งและที่ราบลุ่มแม่น้ำไนล์ ประกอบด้วย 3 เชื้อชาติ คือ แฮมิติก-แซมิติก 99.8% เบดูอิน และนูเบียน 0.2% อัตราเพิ่มของประชากร ประมาณปีละ 1.9 % อายุเฉลี่ย 65 ปี
ความหนาแน่นประชากรโดยเฉลี่ยทั่วประเทศ ประมาณ 75.68 คน/ตร.กม. กรุงไคโรและ ปริมณฑล มีประชากรประมาณ 16 ล้านคน จะมีความหนาแน่นมากที่สุดเฉลี่ย 34,000-35,000 คน/ตร.กม. รองลงมาคือ เมืองอเล็กซานเดรีย มีประชากรประมาณ 4 ล้านคน ความหนาแน่นเฉลี่ย 13,000-15,000 คน/ตร.กม. และเมือง ปอร์ต ซาอิด มีประชากร 526,000 คน ความหนาแน่นเฉลี่ย 8,800-9,000 คน/ตร.กม.
กรุงไคโร
วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553
อนุสาวรีย์เมานต์รัชมอร์
♥ โธมัส เจฟเฟอร์สัน - ด้านปรัชญาการเมือง
♦ ธีโอดอร์ รูสเวลต์ - ด้านการแผ่ขยายและอนุรักษ์
♣ อับราฮัม ลิงคอล์น - ด้านการสงวนรักษา
วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2553
Les Cent Jours et Sainte-Hélène
C'est la fin d'un espoir qui aura duré 100 jours.
"Avec le mémorial, il s'empare de l'avenir" (Max Gallo)
วันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2553
วันพ่อ 5 ธันวามหาราช
♥ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทางราชการได้กำหนดให้เป็นวันหยุดราชการหนึ่งวัน เพื่อให้ประชาชนชาวไทย ได้ร่วมกันเฉลิมฉลองในวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ ถือเป็นวันพ่อแห่งชาติ อีกวันหนึ่งด้วย วันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีความเป็นมาของวันสำคัญ คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ โรงพยาบาล เมาท์ ออเบิร์น นครบอสตัน สหรัฐอเมริกา โดยนายแพทย์วิทท์มอร์ เป็นผู้ถวายการประสูติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ 9 แห่งบรมจักรีวงศ์ กรุงรัตนโกสินทร์ ทรงประกอบพระราชกรณียกิจและเจริญพระราชจริยาวัตรเป็นเอนกประการ จำเนียรกาลผ่านมาถึงปัจจุบันที่สุดจะพรรณนาให้ครบถ้วนได้ ท่ามกลางมหาสมาคมวันพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก ทรงมีกระแสพระราชดำรัสที่พสกนิกรทุกคนยังจดจำได้ "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม" อันคำว่าโดย "ธรรม" นั้น ทรงหมายถึง ธรรมอันล้ำเลิศที่เรียกว่า "ทศพิธราชธรรม" หรือที่เรียกกันโดยสามัญว่า "ราชธรรม 10 ประการ" ราชธรรม 10 ประการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงยึดมั่นทรงปฎิบัติโดยเคร่งครัด และส่งผลถึงพสกนิกรทั่วพระราชอาณาจักรนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเหนือเกล้าฯ
♥ วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาเป็นผู้ริ่เริ่ม หลักการและเหตุผลในการจัดตั้งวันพ่อ โดยที่พ่อเป็นผู้มีพระคุณที่มีบทบาทสำคัญ ต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูนตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสมควรที่สังคมจะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาเป็น "วันพ่อแห่งชาติ" ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างนานัปการ ทรงเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและพระราชธิดา ทรงรักใคร่และห่วงใยตั้งแต่พระเยาว์จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งพระเจ้าหลานเธอทุกพระองค์ต่างซาบซึ้งและปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณอย่างมิรู้ลืม พระองค์ทรงเป็น "พ่อ" ตัวอย่างของปวงชนชาวไทยที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตากรุณา ทรงห่วงใยอย่างหาที่เปรียบมิได้
♥ กิจกรรมที่ควรปฎิบัติในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
1.ประดับธงชาติที่อาคารบ้านเรือน
2.จัดพิธีศาสนสงฆ์ ทำบุญใส่บาตร อุทิศเป็นพระราชกุศล น้อมเกล้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล
3.จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล
♥ วัตถุประสงค์ของการจัดวันพ่อแห่งชาติ
1. เพื่อเทิดทูนพระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2. เพื่อเทิดทูนพระคุณของพ่อ และยกย่องบทบาทของพ่อที่มีต่อครอบครัวและสังคม
3. เพื่อให้ลูกได้แสดงความกตัญญูต่อพ่อ
4. เพื่อให้ผู้เป็นพ่อได้สำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบของตน
ดอกไม้ประจำวันพ่อ
“พุทธรักษา” หมายถึง พระพุทธเจ้าทรงปกป้องคุ้มครอง ให้มีแต่ความสงบสุขร่มเย็น ซึ่งมีเรียกกันมากว่า 200 ปี และสีเหลืองอันเป็นสีประจำวัน พระราชสมภพขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ของปวงชนชาวไทย การมอบดอกพุทธรักษาให้กับพ่อ จึงเสมือนกับการบอกถึง ความรักและเคารพบูชาพ่อ ผู้สร้างความสงบสุขร่มเย็นให้แก่ครอบครัว
♥ คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นพุทธรักษาไว้ประจำบ้านจะช่วยปกป้องคุ้มครอง ไม่ให้มีเหตุร้ายหรืออันตรายเกิดแก่บ้านและผู้อาศัย เพราะพุทธรักษาเป็นพรรณไม้ที่เชื่อกันว่า มีพระเจ้าคุ้มครองรักษาให้มีความสงบสุข คือเป็นไม้มงคลนามนั่นเอง
วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553
ศิลปะเรอเนซองส์
ศิลปะในยุคนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นการแสดงออกทางด้านความเชื่อทางศาสนา จึงไม่น่าแปลกว่า ดาวินซีจึงไม่เป็นที่ปลื้มของเหล่าศาสนจักรมากนักในยุคสมัยนี้ สุดท้ายบั้นปลายชีวิตต้องหอบเอาโมนาลิซาขึ้นๆลงๆ ไปจนบั้นปลายของชีวิต แต่กระนั้น ดาวินซีก็ยังเป็นที่จดจำของคนทั้งโลกผ่าน โมนาลิซา และ The Last Supper ได้อยู่ดี แต่ตรงข้ามกลับมีเกลันเจโลที่โป๊บยืนยันที่จะยอมลดอายุของตนเองเพื่อให้ มีเกลันเจโลมีอายุยืนยาวต่อไป(แม้เค้าจะเสียชีวิตเมื่ออายุได้90ปีก็ตาม)ยุคเรอเนซองส์ (Renaissance)เป็นยุดแห่งการใช้ศิลปะวิทยาการใหม่ๆมาใช้อย่างจิงจัง อย่างเช่นวิชาเปอร์สเปคตีฟ(Perspective)ผู้นำวิชานี้มาใช้เป็นคนแรกคือ เพาโล ยูเซลโล(Paole Ucello ,1397-1575) เป็นผลให้หลังจากศตวรรตที่15 ศิลปินทุกคนจึงจำเป็นต้องเรียนวิชาเปอร์สเปคตีฟ(Perspective)ไปโดยบรรยาย วิชาเปอร์สเปคตีฟ(Perspective)เป็นวิชาที่สร้างความตื้นลึกด้วยเส้น แสดงถึงความสัมพันธ์ของขนาดวัตถุซึ่งอยู่ตำแหน่งต่างๆของพื้นภาพตามจุดที่เห็น
St.Peter
ยุคเรอเนซองส์ (Renaissance) ไม่ใช่เฉพาะศิลปะเท่านั้นมีความความเจริญรุ่งเรืองแต่ยังเป็นที่บ่มเพาะให้วิทยาศาสตร์เป็นศาตร์ที่สร้างความเจริญให้โลกในยุคปัจจุบันอีกด้วย เป็นปีที่เซอร์ไอแซก นิวตัน(Sir Isaac Newton ,1643- 1727) พบกฏแรงโน้มถ่วงจากการตกของผลแอปเปิ้ล และกาลิเลโอ ก็มีชีวิตอยู่ในสมัยนี้ด้วยเช่นกัน
ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าศิลปกรรมสมัยฟื้นฟู (Renaissance) เป็นการนำเอาศิลปกรรม สมัยกรีซ โรมัน และโรมันเนสค์ มาฟื้นฟูใหม่ มีลักษณะของศิลปะที่เด่นชัด เป็นการนำศิลปะกรรมทุกแขนงทางด้านทัศนศิลป์มาฟื้นฟูให้มีลักษณะของตนเองและมีความเด่นชัดมากที่สุด
วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
ศิลปะโกธิค
ประติมากรรมแบบโกธิคนั้นมีจุดกำเนิดมาจากผนัง เริ่มขึ้นในช่วงกลางของคริสต์ศตวรรษที่ 12 ที่เขต le-de-France ซึ่งก็คือเขตการปกครองหรือมณฑลในฝรั่งเศส มีปารีสเป็นเมืองหลัก โดยผลงานที่ได้รับยกย่องว่าเป็นงานสถาปัตยกรรมแบบโกธิคชิ้นแรกของโลกนั้นคือ วิหารเซนต์เดนิส หรือแซงต์เดอนิส ตัวอย่างสถาปัตยกรรมแบบโกธิคในประเทศอิตาลี ได้แก่ วิหารออร์เวียตโต (Orvieto)
จิตรกรรมแบบโกธิค จุดเริ่มต้นของสไตล์ที่เรียกได้ว่าเป็นโกธิคของแท้ คือดูโศกเศร้า มืดมน และมีความรู้สึกมากกว่าจิตรกรรมในยุคที่ผ่านๆมา งานจิตรกรรมแบบโกธิคนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญของความเชี่ยวชาญพื้นฐานในด้านงาน ช่างศิลป์ 4 ประการในการทำงานได้แก่ ภาพปูนเปียก (Fresco) ภาพบนกระดานไม้ ภาพวาดประกอบเรื่องราวหรือที่เรียกกันว่าอิลลัสสเตรชัน และงานกระจกสี
วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
ศิลปะบารอค
ศิลปกรรมบารอคมีแหล่งกำเนิดที่ประเทศอิตาลี
จากนั้นจึงกระจายออกไปทั่วอิตาลี แล้วขยายวงกว้างออกไปทั่วประเทศยุโรป มีการปฏิวัติทางศิลปกรรมในช่วงระหว่างค.ศ. 1550 - 1750 แต่มีความเจริญสูงสุดอยู่ระหว่างค.ศ. 1680 - 1730 ซึ่งมีชื่อเรียกเฉพาะในช่วงเวลานี้ว่า High - Baroque
ลักษณะเด่นของรูปแบบสถาปัตยกรรมบารอคโดยรวม
คือ ลักษณะรูปแบบที่พัฒนาสืบต่อจากสถาปัตยกรรมเรอเนสซองส์ ด้วยการเพิ่มเติมโครงสร้างส่วนประกอบ และรายละเอียดทางสถาปัตยกรรมเข้าไปอีก ลักษณะรูปแบบจากความเรียบง่ายมั่นคง มาสู่ความแพรวพราวและดูเคลื่อนไหว มีการใช้โครงสร้างของเส้นโค้งและเส้นคด แสดงความเคลื่อนไหวมากขึ้น และส่วนประกอบมีความตื้นลึกหลายชั้น ฝาผนังแต่ละส่วนมีการเล่นมิติในพื้นที่ส่วนย่อย
วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
ประวัติ
วัยเด็ก (ค.ศ. 1756 - ค.ศ. 1772)
สถานที่เกิดของโมซาร์ท (Getreidegasse 9, Salzburg, Austria)โมซาร์ทเป็นบุตรของนักประพันธ์เพลงชาวเยอรมัน เลโอโปลด์ โมซาร์ท (ค.ศ. 1719 - ค.ศ. 1787) รองประธานโบสถ์ในความอุปถ้มภ์ของเจ้าชายอาร์คบิชอปแห่งซัลสบูร์ก (Salzburg) กับแอนนา มาเรีย เพิร์ต (Anna Maria Pert) (ค.ศ. 1720 - ค.ศ. 1778) โวล์ฟกัง อมาเด (โมซาร์ทมักจะเรียกตนเองว่า "Wolfgang Amadè Mozart" ไม่เคยถูกเรียกว่า อมาเดอุส ตลอดช่วงเวลาที่เขายังมีชีวิตอยู่ ไม่แม้กระทั่งในรายการบันทึกของพิธีศีลจุ่ม โดยได้รับชื่อละตินว่า "Joannes Chrysostomus Wolfgangus Theophilus Mozart" ) ได้แสดงได้เห็นอัจฉริยภาพทางดนตรี ก่อนวัยอันควร ตั้งแต่อายุสามขวบ เขามีหูที่ยอดเยี่ยม และความจำที่แม่นยำ ความสามารถพิเศษยิ่งยวด ทำให้เป็นที่น่าฉงนแก่ผู้คนรอบข้าง และเป็นแรงกระตุ้นให้บิดาของเขา ให้สอนฮาร์ปซิคอร์ดแก่เขา ตั้งแต่อายุห้าขวบ โมซาร์ทน้อยเรียนไวโอลินและออร์แกน เป็นเครื่องดนตรีชิ้นต่อมา ตามด้วยวิชาเรียบเรียงเสียงประสาน เขารู้จักการแกะโน้ตจากบทเพลงที่ได้ยิน และเล่นทวนได้อย่างถูกต้อง ตั้งแต่วัยยังไม่รู้จักอ่านเขียนและนับเลข เมื่ออายุหกขวบ (ค.ศ. 1762) เขาก็แต่งเพลงชิ้นแรกได้แล้ว (เมนูเอ็ต KV.2, 4 และ 5 และ อัลเลโกร KV.3)
ครอบครัวโมซาร์ท เดินทางออกตระเวนแสดงคอนเสิร์ต: เลโอโปลด, โวล์ฟกัง, และแนนเนิร์นระหว่าง ค.ศ. 1762 ถึง ค.ศ. 1766 เขาได้เดินทางออกตระเวนแสดงคอนเสิร์ตกับบิดา (ที่เป็นลูกจ้างของเจ้าชายอาร์คบิชอปแห่งแชรตเตนบาค (Schrattenbach) และมาเรีย-อานนา พี่สาวคนโต (มีชื่อเล่นว่า "แนนเนิร์น" เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1751) พวกเขาเปิดการแสดงในนครมิวนิคเป็นแห่งแรก ตามมาด้วยกรุงเวียนนา ก่อนที่จะออกเดินสายครั้งใหญ่ทั่วทวีปยุโรป ซึ่งเริ่มตั้งแต่ มิวนิค ออกสบูร์ก มันน์ไฮม์ แฟรงค์เฟิร์ต บรัสเซล ปารีส ลอนดอน เฮก อัมสเตอดัม ดิจง ลียง เจนีวา โลซาน) การแสดงของเขาประทับใจผู้ชมเป็นอย่างมาก และยังทำให้เขาได้พบกับแนวดนตรีใหม่ๆอีกด้วย เขาได้พบกับนักดนตรีสามคนที่ต้องจดจำเขาไปตลอดชีวิต อันได้โยฮัน โชเบิร์ต ที่กรุงปารีส โยฮันน์ คริสเตียน บาค (บุตรชายคนรองของ โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค) ที่กรุงลอนดอน และเบอร์นัว แมร์ล็องผู้ซึ่งไม่เป็นที่รู้จัก ที่เมืองปาดู แมร์ล็องนี่เองที่ทำให้โมซาร์ทได้ค้นพบ เปียโนฟอร์ท ที่ถูกคิดค้นขึ้นตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 และโอเปร่าในแบบของชาวอิตาเลียน แมร์ล็องยังได้สอนให้เขาแต่งซิมโฟนีอีกด้วย เมื่อปี ค.ศ. 1767โมซาร์ทได้ประพันธ์โอเปร่าเรื่องแรก ตั้งแต่อายุได้ 11 ปี ชื่อเรื่อง อพอลโล กับ ไฮยาซิน (K.38) เป็นบันเทิงคดีภาษาละติน ที่แต่งให้เปิดแสดงโดยคณะนักเรียน ของโรงเรียนมัธยม ที่ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยแห่งเมืองซัลสบูร์ก เมื่อเขาเดินทางกลับถึงประเทศออสเตรีย เขาได้เดินทางไปยังกรุงเวียนนาบ่อยครั้ง และได้แต่งโอเปร่าสองเรื่องแรก ได้แก่ นายบาสเตียน กับ นางบาสเตียน และ ลา ฟินตา ซ็อมปลิซ ตลอดช่วงฤดูร้อนปี ค.ศ. 1768 เมื่อมีอายุได้ 12 ปี
ภาพเขียนแสดงโมซาร์ทในวัยเด็กในปีถัดมา เขาได้รับการแต่งตั้ง จากเจ้าชายอาร์คบิชอป ให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการคอนเสิร์ต บิดาของเขาได้ขอลาพักงาน โดยไม่รับเงินเดือนเพื่อพาเขาไปท่องเที่ยวที่ประเทศอิตาลี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1769 ถึง ค.ศ. 1773 โมซาร์ทได้เดินทางไปประเทศอิตาลีหลายครั้งเพื่อไปศึกษาเกี่ยวกับโอเปร่า อันเป็นรูปแบบดนตรีที่เขาใช้ประพันธ์ การแต่งงานของฟิกาโร (Le Nozze di Figaro) ,ดอน โจวานนี ,โคสิ ฟาน ตุตเต้ ,ขลุ่ยวิเศษ (Die Zauberflöte) ฯลฯ เขาสามารถนำเสียงดนตรีอันสูงส่งเหล่านี้ออกมาสู่โลกได้ จากใส่ใจในความกลมกลืนของเสียงร้อง และ ความสามารถในการควบคุมเสียง อันเกิดจากเครื่องดนตรีหลากชิ้น
โชคไม่ดีที่ ในวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1771 เจ้าชายอาร์คบิชอปแห่งแชรตเตนบาคได้สิ้นชีพิตักษัย เจ้าชายอาร์คบิชอปแห่งโคลโลเรโดได้กลายมาเป็นนายจ้างคนใหม่ของเขา
รับใช้เจ้าชายอาร์คบิชอปแห่งโคลโลเรโด (ค.ศ. 1773 - ค.ศ. 1781)
โวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ทโมซาร์ทไม่มีความสุขที่บ้านเกิดของเขา เนื่องจากนายจ้างใหม่ ไม่ชอบให้เขาออกไปเดินทางท่องเที่ยว และยังบังคับรูปแบบทางดนตรี ที่เขาได้ประพันธ์ให้กับพิธีทางศาสนา เมื่อมีอายุได้ 17 ปี เขาไม่ยินดีที่จะยอมรับข้อบังคับนี้ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเขากับอาร์คบิชอป เสื่อมถอยลงในอีกสามปีต่อมา โชคดีที่เขาได้รู้จักกับ โยเซฟ เฮย์เด้น ซึ่งก็ได้มาเป็นเพื่อนโต้ตอบทางจดหมาย และเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันตลอดชีวิต
"ข้าต้องการพูดต่อหน้าพระเจ้า ในฐานะชายผู้ซื่อสัตย์ บุตรชายของท่านเป็นคีตกวีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่ข้าเคยรู้จัก ไม่ว่าจะเป็นการรู้จักเป็นการส่วนตัวหรือรู้จักเพียงในนาม เขามีรสนิยม และนอกเหนือจากนั้น เป็นศาสตร์ทางการประพันธ์ดนตรีที่ยิ่งใหญ่ที่สุด"
ในจดหมายที่ โยเซฟ เฮย์เด้น เขียนถึง เลโอโปลด์ โมซาร์ท
"มีเขาเพียงคนเดียวเท่านั้นที่รู้จักเคล็ดลับที่จะทำให้ข้าหัวเราะ และสัมผัสจิตวิญญาณส่วนที่อยู่ลึกสุดของข้าเอง"
วอล์ฟกัง อมาเดอุส โมซาร์ท กล่าวถึงโยเซฟ เฮย์เด้น
ในปีค.ศ. 1776 โมซาร์ทมีอายุได้ 20 ปี และได้ตัดสินใจเดินทางออกจากเมืองซัลสบูร์ก อย่างไรก็ดี เจ้าชายอาร์คบิชอป ได้ปฏิเสธไม่ให้บิดาของเขาไปด้วย และบังคับให้เขาลาออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการคอนเสิร์ต หลังจากการเตรียมการเป็นเวลาหนึ่งปี โมซาร์ทได้จากไปพร้อมกับมารดา โดยเดินทางไปยังนครมิวนิคเป็นแห่งแรก ที่ซึ่งเขาหาตำแหน่งงานไม่ได้ จากนั้นจึงไปที่เมืองออกสบูร์ก และท้ายสุดที่มันน์ไฮม์ ที่ซึ่งเขาได้ทำความรู้จักกับนักดนตรีมากมาย อย่างไรก็ดี แผนการที่จะหาตำแหน่งงานของเขาไม่เป็นผลสำเร็จ ในระหว่างนั้นเองที่เขาได้ตกหลุมรักอลอยเซีย วีเบอร์ นักเต้นระบำแคนตาตาสาวอย่างหัวปักหัวปำ ที่ทำให้บิดาของเขาโกรธมาก และขอให้เขาอย่าลืมอาชีพนักดนตรี โมซาร์ทมีหนี้สินล้นพ้นตัว เขาเริ่มเข้าใจว่าจะต้องออกหางานทำต่อไป และออกเดินทางไปยังกรุงปารีสในเดือนมีนาคม ปีค.ศ. 1778
เป็นอิสระที่กรุงเวียนนา (ค.ศ. 1782-ค.ศ. 1791)
คอนสแตนซ์ วีเบอร์ ภรรยาของโมซาร์ทในปีค.ศ. 1781โมซาร์ทเดินทางไปยังกรุงเวียนนากับเจ้าชายอาร์คบิชอปแห่งโคลโลเรโด ผู้ได้เลิกจ้างโมซาร์ทที่เวียนนา โมซาร์ทจึงตั้งรากฐานอยู่ที่เวียนนา เมื่อเห็นว่าชนชั้นสูงเริ่มชอบใจในตัวเขา และในปีเดียวกันนั้น โมซาร์ทได้แต่งงานกับคอนสแตนซ์ วีเบอร์ (นักร้อง(โซปราโน) ซึ่งเป็นน้องสาวของ อลอยเซีย วีเบอร์ ซึ่งโมซาร์ทเคยหลงรัก) โดยที่บิดาของโมซาร์ทไม่เห็นด้วยกับงานวิวาห์นี้ โมซาร์ทและคอนสแตนซ์มีลูกด้วยกันถึงหกคน ซึ่งเพียง 2 คนรอดพ้นวัยเด็ก
ปีค.ศ. 1782เป็นปีที่ดีสำหรับโมซาร์ท โอเปร่าเรื่อง Die Entführung aus dem Serail ประสบความสำเร็จอย่างมาก และโมซาร์ทก็ได้แสดงคอนเสิร์ต ชุดที่เขาเล่นในเปียโนคอนแซร์โตของเขาเอง
ระหว่างปีค.ศ. 1782 - ค.ศ. 1783 โมซาร์ทได้รับอิทธิพลจากผลงานของบราค และแฮนเดลผ่านบารอนก็อตตเฟร็ด วอน สวีเทน(Baron Gottfried van Swieten) แนวเพลงของโมซาร์ทจึงได้รับอิทธิพลจากยุคบารอคตั้งแต่นั้นมา อย่างที่เห็นได้ชัดในท่อนฟิวก์ของ ขลุ่ยวิเศษ และซิมโฟนี หมายเลข 41
ในช่วงนี้เองโมซาร์ทได้มารู้จักและสนิทสนมกับโยเซฟ เฮเด้น โดยทั้งสองมักจะเล่นในวงควอเตทด้วยกัน และโมซาร์ทก็ยังเขียนควอเตทถึงหกชิ้นให้เฮเด้น เฮเด้นเองก็ทึ่งในความสามารถของโมซาร์ท และเมื่อได้พบกับลีโอโปล์ด พ่อของโมซาร์ท ได้กล่าวกับเขาว่า "ต่อหน้าพระเจ้าและในฐานะคนที่ซื่อสัตย์ ลูกของท่านเป็นนักประพันธ์ที่ดีที่สุดที่ผมเคยได้พบหรือได้ยิน เขามีรสนิยม และมากกว่านั้น เขามีความรู้เรื่องการประพันธ์" เมื่อโมซาร์ทอายุมากขึ้น เขาก็ได้รับอิทธิพลจากนักปราชญ์แห่งศตวรรษที่ 18 และเป็นฟรีเมสันที่อยู่ในสาขาโรมัน คาทอลิค โอเปร่าสุดท้ายของโมซาร์ทแสดงถึงอิทธิพลฟรีเมสันนี้
ชีวิตของโมซาร์ทมักพบกับปัญหาทางการเงินและโรคภัยไข้เจ็บ โมซาร์ทย่อมไม่ได้รับค่าจ้างสำหรับงานของเขา และเงินที่เขาได้รับนั้นก็ถูกผลาญด้วยวิถีชีวิตที่หรูหราอลังการ
โมซาร์ทใช้ชีวิตในช่วงปีค.ศ. 1786 ที่กรุงเวียนนาในอพาร์ตเมนท์ที่จนถึงวันนี้ยังสามารถเข้าชมได้ที่ดอมกาส 5 (Domgasse 5)หลังโบสถ์เซนต์สตีเฟน (St. Stephen's Cathedral) โมซาร์ทประพันธ์ การแต่งงานของฟิกาโร และ Don Giovanni ณ ที่แห่งนี้
บั้นปลายชีวิต
บั้นปลายและการเสียชีวิตของโมซาร์ทยังคงเป็นเรื่องที่หาข้อสรุปยากสำหรับนักวิชาการ เพราะมีทั้งตำนานและเรื่องเล่าแต่ขาดหลักฐาน มีทฤษฏีหนึ่งสันนิษฐานว่าสุขภาพของโมซาร์ทเริ่มแย่ลงทีละเล็กทีละน้อย และโมซาร์ทเองก็รับรู้สภาพนี้ซึ่งปรากฏขึ้นในงานประพันธ์ของเขา แต่นักวิชาการที่ไม่เห็นด้วยอ้างถึงจดหมายที่โมซาร์ทเขียนถึงครอบครัว ที่ยังมีทัศนะคติที่สดใส และปฏิกิริยาของครอบครัวเมื่อได้ข่าวเรื่องการเสียชีวิตของโมซาร์ท การเสียชีวิตของโมซาร์ทยังเป็นเรื่องที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ ใบมรณภาพของโมซาร์ทบันทึกไว้ว่าเขาเสียชีวิตเพราะ"ไข้ไทฟอยด์" และมีทฤษฎีมากมายที่พยายามอธิบายการเสียชีวิตให้ละเอียดมากขึ้น ชกาลที่ โมซาร์ทเสียชีวิตในเวลาประมาณ 01.00 น. วันที่ 5 เดือนธันวาคม ปีค.ศ. 1791 ในขณะที่เขากำลังประพันธ์เพลงเรเควียม ที่ประพันธ์ไม่เสร็จ ตามตำนานที่เล่าลือ โมซาร์ทตายโดยที่ไม่เหลือเงินและถูกฝังในหลุมศพของคนอนาถา ร่างของโมซาร์ทถูกฝังอย่างเร่งรีบในที่ฝังศพสาธารณะ เพราะระหว่างที่นำศพไปนั้นเกิดมีพายุแรงและฝน ลูกเห็บตกอย่างหนัก ทำให้หีบศพถูกหย่อนไว้ร่วมกับศพคนยากจนอื่นๆ ไม่มีเครื่องหมายใดว่านี่คือศพของโมซาร์ท
แต่ข้อเท็จจริงก็คือ โมซาร์ทไม่เป็นที่นิยมชมชอบอย่างที่เคยเป็นอีกต่อไป เขายังคงมีงานที่มีรายได้ดีจากราชสำนัก และยังได้รับเงินอุดหนุนจำนวนมากจากส่วนอื่นๆของยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากกรุงปราก ยังมีจดหมายขอความช่วยเหลือทางการเงินของโมซาร์ทหลงเหลืออยู่บ้าง แต่ก็ไม่ได้เป็นหลักฐานว่าเขาจนเพราะรายจ่ายเกินรายรับ ศพของเขาไม่ได้ถูกฝังในหลุมฝังศพรวม แต่ในสุสานของชุมชนตามกฎหมายของปีค.ศ. 1783 แม้ว่าหลุมศพดั้งเดิมในสุสานเซนต์มาร์กจะหายไป แต่ก็มีป้ายหลุมศพที่ตั้งไว้เป็นอนุสรณ์สถานในเซนทรัลไฟรด์ฮอฟ
ในปีค.ศ. 1809 คอนสแตนซ์ได้แต่งงานใหม่กับจอร์จ นีโคเลาส์ ฟอน นีสเสน นักการทูตชาวเดนมาร์ก (ชาตะค.ศ. 1761 มรณะค.ศ. 1826) ผู้ซึ่งหลงใหลคลั่งใคล้ในตัวโมซาร์ทอย่างมาก ถึงกับแต่งเรื่องราวเกินจริงจากจดหมายของโมซาร์ท และแต่งชีวประวัติของคีตกวีเอกอีกด้วย
โมซาร์ทมีชีวิตอยู่ตรงกับระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สมัยอยุธยา และพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมัยรัตนโกสินทร์
Ludwig van Beethoven
เบโทเฟินเป็นตัวอย่างของศิลปินยุคโรแมนติกผู้โดดเดี่ยว และไม่เป็นที่เข้าใจของบุคคลในยุคเดียวกันกับเขา ในวันนี้ เขาได้กลายเป็นคีตกวีที่มีคนชื่นชมยกย่องและฟังเพลงของเขากันอย่างกว้างขวางมากที่สุดคนหนึ่ง ตลอดชีวิตของเขามีอุปสรรคนานัปการที่ต้องฝ่าฟัน ทำให้เกิดความเครียดสะสมในใจเขา ในรูปภาพต่างๆ ที่เป็นรูปเบโธเฟน สีหน้าของเขาหลายภาพแสดงออกถึงความเครียด แต่ด้วยจิตใจที่แข็งแกร่งของเขา ก็สามารถเอาชนะอุปสรรคต่างๆในชีวิตของเขาได้ ตำนานที่คงอยู่นิรันดร์เนื่องจากได้รับการยกย่องจากคีตกวีโรแมนติกทั้งหลาย เบโทเฟินได้กลายเป็นแบบอย่างของพวกเขาเหล่านั้นด้วยความเป็นอัจฉริยะที่ไม่มีใครเทียมทาน ซิมโฟนีของเขา (โดยเฉพาะอย่างยิ่งซิมโฟนีหมายเลข 5 ซิมโฟนีหมายเลข 6 ซิมโฟนีหมายเลข 7 และ ซิมโฟนีหมายเลข 9) และคอนแชร์โตสำหรับเปียโนที่เขาประพันธ์ขึ้น (โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอนแชร์โตหมายเลข 4 และ 5) เป็นผลงานที่ได้รับความนิยมมากที่สุด แต่ก็มิได้รวมเอาความเป็นอัจฉริยะทั้งหมดของคีตกวีไว้ในนั้น
ประวัติ
ใน ค.ศ. 1823ลุดวิจ ฟาน เบโทเฟินเกิดที่เมืองบอนน์ (ประเทศเยอรมนี) เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1770 และได้เข้าพิธีศีลจุ่มในวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1770 เป็นลูกชายคนรองของโยฮันน์ ฟาน เบโทเฟิน (Johann van Beethoven) กับ มาเรีย แม็กเดเลนา เคเวริช (Maria Magdelena Keverich) ขณะที่เกิดบิดามีอายุ 30 ปี และมาดามีอายุ 26 ปี ชื่อต้นของเขาเป็นชื่อเดียวกับปู่ และพี่ชายที่ชื่อลุดวิจเหมือนกัน แต่เสียชีวิตตั้งแต่อายุยังน้อย ครอบครัวของเขามีเชื้อสายเฟลมิช (จากเมืองเมเชเลนในประเทศเบลเยียม) ซึ่งก็เป็นเหตุผลว่าเหตุใด นามสกุลของเขาจึงขึ้นต้นด้วย ฟาน ไม่ใช่ ฟอน ตามที่หลายคนเข้าใจ
บิดาเป็นนักนักร้องในคณะดนตรีประจำราชสำนัก และเป็นคนที่ขาดความรับผิดชอบ ซ้ำยังติดสุรา รายได้เกินครึ่งหนึ่งของครอบครัวถูกบิดาของเขาใช้เป็นค่าสุรา ทำให้ครอบครัวยากจนขัดสน บิดาของเขาหวังจะให้เบโทเฟิน ได้กลายเป็นนักดนตรีอัจฉริยะอย่าง โมซาร์ท นักดนตรีอีกคนที่โด่งดังในช่วงยุคที่เบโทเฟินยังเด็ก จึงเริ่มสอนดนตรีให้ใน ค.ศ. 1776 ขณะที่เบโทเฟินอายุ 5 ปี
แต่ด้วยความหวังที่ตั้งไว้สูงเกินไป (ก่อนหน้าเบโทเฟินเกิด โมซาร์ท สามารถเล่นดนตรีหาเงินให้ครอบครัวได้ตั้งแต่อายุ 6 ปี บิดาของเบโทเฟินตั้งความหวังไว้ให้เบโทเฟินเล่นดนตรีหาเงินภายในอายุ 6 ปีให้ได้เหมือนโมซาร์ท) ประกอบกับเป็นคนขาดความรับผิดชอบเป็นทุนเดิม ทำให้การสอนดนตรีของบิดานั้นเข้มงวด โหดร้ายทารุณ เช่น ขังเบโทเฟินไว้ในห้องกับเปียโน 1 หลัง , สั่งห้ามไม่ให้เบโทเฟินเล่นกับน้องๆ เป็นต้น ทำให้เบโทเฟินเคยท้อแท้กับเรื่องดนตรี แต่เมื่อได้เห็นสุขภาพมารดาที่เริ่มกระเสาะกระแสะด้วยวัณโรคปอด ก็เกิดความพยายามสู้เรียนดนตรีต่อไป เพื่อหาเงินมาสร้างความมั่นคงให้ครอบครัว
ค.ศ. 1801 เบโทเฟินเปิดเผยเรื่องปัญหาในระบบการได้ยินให้ผู้อื่นฟังเป็นครั้งแรก แต่ครั้งนี้สังคมยอมรับ ทำให้เขาไม่จำเป็นต้องปกปิดเรื่องอาการหูตึงอีก หลังจากนั้น ก็เป็นยุคที่เขาประพันธ์เพลงออกมามากมาย แต่เพลงที่เขาประพันธ์นั้นจะมีปัญหาตรงที่มันล้ำสมัยเกินไป ผู้ฟังเพลงไม่เข้าใจในเนื้อหา แต่ในภายหลัง เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ผู้คนเริ่มเข้าใจในเนื้อเพลงของเบโทเฟิน บทเพลงหลายเพลงเหล่านั้นก็เป็นที่นิยมล้นหลามมาถึงปัจจุบัน
ผลงานซิมโฟนี
โจเซฟ ไฮเดินได้ประพันธ์ซิมโฟนีไว้กว่า 100 บท โมซาร์ทประพันธ์ไว้กว่า 40 บท หากจะนับว่ามีคีตกวีรุ่นพี่เป็นตัวอย่างที่ดีแล้ว เบโทเฟินไม่ได้รับถ่ายทอดมรดกด้านความรวดเร็วในการประพันธ์มาด้วย เพราะเขาประพันธ์ซิมโฟนีไว้เพียง 9 บทเท่านั้น และเพิ่งจะเริ่มประพันธ์ซิมโฟนีหมายเลข 10 แต่สำหรับซิมโฟนีทั้งเก้าบทของเบโทเฟินนั้น ทุกบทต่างมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
ซิมโฟนีสองบทแรกของเบโทเฟินได้รับแรงบันดาลใจและอิทธิพลจากดนตรีในยุคคลาสสิก อย่างไรก็ดี ซิมโฟนีหมายเลข 3 ที่มีชื่อเรียกว่า "อิรอยอิเคอร์" จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในการเรียบเรียงวงออร์เคสตราของเบโทเฟิน ซิมโฟนีบทนี้แสดงถึงความทะเยอทะยานทางดนตรีมากกว่าบทก่อนๆ เฮโรอิกโดดเด่นด้วยความสุดยอดของเพลงทุกท่อน และการเรียบเรียงเสียงประสานของวงออร์เคสตรา เพราะแค่ท่อนแรกเพียงอย่างเดียวก็มีความยาวกว่าซิมโฟนีบทอื่นๆที่ประพันธ์กันในสมัยนั้นแล้ว ผลงานอันอลังการชิ้นนี้ได้ถูกประพันธ์ขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่นโปเลียน โบนาปาร์ต และส่งเบโทเฟินขึ้นสู่ตำแหน่งสุดยอดสถาปนิกทางดนตรี และเป็นคีตกวีคนแรกแห่งยุคโรแมนติก