ทุตอังค์อามุน ประสูติ: 1341 ปีก่อนคริสตกาล, ทิวงคต: 1323 ปีก่อนคริสตกาล เป็นฟาโรห์อียิปต์พระองค์ที่12 แห่งราชวงศ์ที่ 18 เสวยราชย์ระหว่าง 1333-1324 ปีก่อนคริสตกาล
พระประวัติ
การบริหารบ้านเมืองจึงตกอยู่กับวิเซียร์ ไอย์ (Vizier Ay) ฟาโรห์ทุตอังค์อามุนได้ครองราชย์ในรัชสมัยของพระองค์ช่วงสั้นๆ ราว 9 ปี ก็สิ้นพระชนม์เสียก่อน เป็นเพราะฟาโรห์ทุตอังค์อามุน สิ้นพระชนม์อย่างกะทันหัน วิเซียร์ อัยย์จึงได้สร้างสุสานถวายแบบง่าย ๆ
ราวสองร้อยปีต่อมา มีการสร้างสุสานของฟาโรห์รามเสสที่ 6 ทับสุสานของ ฟาโรห์ทุตอังค์อามุน ทั้ง ๆ ที่คนงานก็รู้แต่นึกว่าเป็นบุคคลธรรมดาจึงไม่ได้เสนอเบื้องบน จึงทำให้สุสานของฟาโรห์ทุตอังค์อามุนนี้ ปลอดภัยและนับเป็นสุสานที่สมบูรณ์ที่สุด
ฟาโรห์ทุตอังค์อามุนทรงได้อภิเษกสมรสกับพระนางอันเคเซนามุน พระธิดาพระองค์ที่ 3 จากทั้งหมด 6 พระองค์ในพระนางเนเฟอร์ติติ ซึ่งเป็นมเหสีองค์แรกของฟาโรห์อาเมนโฮเทปที่ 4 เจ้าหญิงจากมิตันนี (Mitanni) ซึ่งเป็นอาณาจักรโบราณแห่งหนึ่งตั้งอยู่บริเวณทางเหนือของดินแดนเมโสโปเตเมีย
ฟาโรห์ทุตอังค์อามุนสวรรคตอย่างฉับพลันโดยไม่ทราบสาเหตุ ทั้งๆ ที่ยังมีพระชนมายุยังไม่ครบ 19 ชันษา อีกทั้งไม่มีองค์รัชทายาท วิซิเออร์ อัยย์ จึงรีบฉวยโอกาสแต่งกับราชินีม่ายเพื่อจะได้ครอบครองดินแดนอียิปต์ต่อไป
ครั้งแรกที่นำคิงตัทไปเอ็กซเรย์ในปี 2511 จนพบเศษกระดูกในกะโหลกศรีษะ ทำให้เชื่อว่าพระองค์น่าจะถูกปลงพระชนม์ด้วยลูกธนู ซึ่งนักประวัติศาสตร์บางรายก็สันนิษฐานเหตุว่า เป็นเพราะตุตันคาเมนต้องการนำแนวคิด “พหุเทวนิยม” (การนับถือพระเจ้าหลายองค์) กลับมาสู่ชาวอียิปต์อีกครั้ง หลังจากที่อาเคนาเตน (Akhenaten) พระราชบิดาของคิงตัทได้ปฏิรูปศาสนาอย่างถอนรากถอนโคนนำเอา “เอกเทวนิยม” ให้นับถือสุริยเทพ “อาเตน” เพียงองค์เดียว แต่หลังจากอาเคนาเตนสิ้นพระชนม์ลง ศาสนสถานและชื่อต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ “อาเตน” จึงถูกลบออกไป รวมทั้งพระนามของ “ตุตันคาเตน” ที่เปลี่ยนมาเป็น “ตุตันคาเมน” อีกด้วย
หน้ากากทองคำขององค์ฟาโรห์ตุตันคามุน
ไม่กี่เดือนหลังจากการเปิดสุสานตุตันคาเมน เปิดเมื่อปี 1922 ผู้ร่วมพิธีเปิดในวันนั้นเสียชีวิตไป 22 คน ด้วยเหตุการณ์ลึกลับและหาคำอธิบายไม่ได้ทำให้เชื่อกันว่า ความตายเหล่านั้นเกิดขึ้นเพราะฤทธิ์คำสาป
วันที่ 4 พฤศจิกายน 1922 โฮเวิร์ด คาร์เตอร์(Howard Carter) และลอร์ด คาร์นาวอน(Lord Carnarvon) ชาวอังกฤษค้นพบสิ่งที่น่าตื่นเต้นที่สุดในโลก พวกเขาเป็นสองคนแรกที่เข้าไปในสุสานของตุตันคาเมนในรอบ 3,000 ปี ในห้องที่พวกเขาพบเต็มไปด้วยทองคำและของมีค่ามากมาย ซึ่งเจ้าของของสิ่งมีค่าเหล่านี้คือฟาโรห์หนุ่มที่มีพระนามว่า "ตุตันคาเมน" นั่นเองและเหนือสุสานนี้มีข้อความอักษรอียิปต์โบราณซึ่งแปลได้ว่า "มัจจุราชจะมาสู่ผู้ซึ่งรบกวนการบรรทมของฟาโรห์"
สอง เดือนต่อมาลอร์ดคาร์นาร์วอน ก็ตายเพราะถูกยุงกัดทำให้เป็นนิวมอเนีย แต่ที่น่าประหลาดอย่างยิ่งที่มัมมี่ของยุวกษัตริย์ฟาโรห์ก็มีรอยยุงกัดที่ แก้มซ้าย ซึ่งเป็นจุดเดียวกับที่ ลอร์ดคาร์นาร์วอน ถูกยุงกัดเหมือนกัน หลังจากนั้นไม่นานนัก อาร์เธอร์ แมค นักโบราณคดีอเมริกันซึ่งร่วมทีมกันขุดสุสานครั้งนี้ด้วย ได้อุทธรณ์ว่าเขารู้สึกเหนื่อยอ่อน แล้วทันใดนั้นก็เข้าขั้นโคม่าเขาหมดลมก่อนที่หมอจะมาถึง และทางแพทย์ก็ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเขาตายด้วยโรคอะไร
ต่อมาก็เป็นผู้เชี่ยวชาญไอยคุปต์อีกคนหนึ่ง เขาคือ จอร์จ กูล์ด เพื่อนสนิทของคาร์นาร์วอน ซึ่งได้รีบเดินทางมาอียิปต์หลังจากได้ทราบข่าวมรณกรรมของคาร์นาร์วอน กูลด์ ได้เดินทางไปที่สุสานของฟาโรห์ ในวันต่อมาเขาล้มฟุบลงด้วยเป็นไข้ขึ้นสูง อีก 12 ชั่วโมง ต่อมาเขาถึงแก่กรรม อาร์ซิบัลด์ เรียด นักรังสีวิทยาที่ฉายเอ็กซ์เรย์มัมมี่พระศพฟาโรห์ได้ถูกส่งตัวกลับอังกฤษ เพราะเกินอ่อนเปลี้ยไร้เรี่ยวแรงขึ้นมาเฉย ๆ แล้วก็ถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา
ริชาร์ด เบธเฮลล์ เลขาส่วนตัว คาร์นาร์วอน ในการขุดค้นสุสานครั้งนี้พบว่านอนตายอยู่บนเตียงเนื่องจากหัวใจวาย
โจเอล วูล ซึ่งเป็นแขกเชิญชุดแรกที่ไปดูสุสาน ตายในเวลาถัดมาไม่นานนัก ด้วยไข้ลึกลับที่แพทย์ไม่สามารถวินิจฉัยได้
ภายในเวลา 6 ปีที่มีการขุดสุสานฟาโรห์ตุตันคาเมน ผู้ที่ได้ร่วมขุดค้นได้ตายไปถึง 12 คน และภายใน 7 ปีมีเพียง 2 คนเท่านั้นที่ร่วมในการขุดมีชีวิตอยู่ นอกจากนี้ยังมีผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือใกล้ชิดผู้ที่ขุดสุสานจำนวน เกือบ 22 คน ได้ถึงแก่กรรมในเวลาไม่สมควร เช่น เลดี้คาร์นาร์วอน อีกคนหนึ่งทีฆ่าตัวตายด้วย เนื่องจากเกิดเป็นบ้าขึ้นมา มีผู้เดียวที่ร่วมเป็นหัวหน้าในการขุดสุสานฟาโรห์ที่โชคดีมีชีวิตอยู่คือ โฮเวิร์ด คาร์เตอร์ เขาตายตามธรรมชาติ เมื่อปี 1939
โฮเวิร์ดกับพระศพของ King Tutankhamun
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น