วันขึ้นปีใหม่ คือวันแรกของปี มักจะมีการเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ และนับเป็นวันสำคัญของปี ปัจจุบันกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่สากล ตามปฏิทินเกรกอเรียน และถือเป็นวันหยุดต่อมาจากวันสิ้นปี อย่างไรก็ตาม ในแต่ละชาติที่ใช้ปฏิทินแบบอื่น ก็จะมีวันขึ้นปีใหม่ที่แตกต่างกันไป เช่น วันตรุษจีน, วันสงกรานต์ เป็นต้น
วันขึ้นปีใหม่ในประเทศไทย
ในวัฒนธรรมไทยแต่ตั้งเดิมจะถือเอาวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันขึ้น 1 ค่ำ เดือนห้า ซึ่งตรงกับช่วงเทศกาลสงกรานต์ ที่เป็นวันแรกที่ดวงอาทิตย์ได้โคจรผ่านพ้นราศีมีนมาสถิตย์ยังราศีเมษ ต่อมาในปี พ.ศ. 2432 ตรงกับรัชสมัยของรัชกาลที่ 4แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 เมษายน ซึ่งในปีนั้นเผอิญตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือนห้าพอดี จึงยึดถือเอาเป็นวันหลัก ซึ่งจะไม่ตรงกันทุกปีแต่ให้ยึดถือเอาเดือนเมษายนเป็นเกณฑ์
ต่อมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ทางรัฐบาล (คณะรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม) ให้ถือเอาวันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ. 2484 เป็นต้นมา โดยมติของสภาผู้แทนราษฎรให้ผ่านกฎหมายฉบับนี้เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2483 โดยได้ยกเลิกปฏิทินแบบสุริยคติมาใช้ปฏิทินแบบสากลเช่นในปัจจุบันมาจนถึงทุกวันนี้
การจัดงานปีใหม่
การจัดงานเป็นรูปแบบการเฉลิมฉลองการเริ่มปีใหม่เป็นการพบประสังสรรค์ หรือนับพบญาติเนื่องจากมีโอกาศที่มีวันหยุดติดต่อกับแย่างยาวนาน การจัดงานปีใหม่มีการจัดทั่วโลกทั้งงานเทศกาลและงานที่ให้ผู้คนมาร่วมงานเป็นการขายสินค้า อาหารเครื่องดื่มและมีการแสดงให้ผู้เข้าร่วมงานได้รับชม หรือแม้แต่การจัดงานในบ้าน
กิจกรรมในวันขึ้นปีใหม่
วันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่นิยมในการทำบุญตักบาตรที่วัดหรือสถานที่ที่ทางราชการนิมนต์พระภิกษุสามเณรจากวัดต่างๆ มาเตรียมไว้ให้ มีการลงนามถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ผู้ไปลงนามจะได้รับปฏิทินหลวงเป็นที่ระลึก นอกจากนี้ยังอาจมีงานเลี้ยงภายในเครือญาติและมิตรสหาย ช่วงใกล้วันปีใหม่มักมีการส่งบัตร ส.ค.ส. และแจกจ่ายสำหรับปีใหม่เป็นของกำนัล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น