วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การบินไทย !


บริษัท การบินไทย จำกัด ( มหาชน ) เป็นรัฐวิสาหกิจ ในสังกัดกระทรวงคมนาคม ดำเนินกิจการในด้านการบินพาณิชย์ในประเทศ และระหว่างประเทศ ในฐานะสายการบินแห่งชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นรัฐวิสาหกิจของชาติ ที่ดำเนินกิจการแข่งขันกับต่างประเทศ ในธุรกิจการบินโลก และเป็นรัฐวิสาหกิจที่สามารถทำกำไรต่อเนื่องเรื่อยมา ทั้งยังได้รับการยกย่องในด้านต่างๆ ให้อยู่ในระดับสายการบินชั้นนำของโลกเสมอมา




การบินไทยเริ่มก่อตั้งขึ้นโดยการทำสัญญาร่วมทุนระหว่าง บริษัท เดินอากาศไทย จำกัด กับสายการบินสแกนดิเนเวียน แอร์ไลน์ ซิสเต็ม หรือใช้ชื่อย่อว่า เอส เอ เอส เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2502 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินธุรกิจการบิน ระหว่าง ประเทศ และได้จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2503 ด้วยทุน จดทะเบียน 2 ล้านบาท โดยบริษัท เดินอากาศไทย จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 70 และ เอส. เอ. เอส. ถือหุ้นร้อยละ 30 ของทุนจดทะเบียน ต่อมา เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2520 เอส. เอ. เอส. ได้โอนหุ้นที่มีอยู่ทั้งหมดให้แก่ บริษัท เดินอากาศไทย จำกัด และถือเป็น การยกเลิกสัญญาร่วมทุน ก่อตั้งขึ้นในปีพุทธศักราช 2503 โดย บริษัท เดินอากาศไทย จำกัด กับบริษัทสายการบินสแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ ซิสเต็มหรือใช้ชื่อย่อว่า เอส เอ เอส ได้ร่วมลงทุนกิจการด้วยทุนเพียง 2 ล้านบาท โดยเดินอากาศไทยถือหุ้นร้อยละ 70 และ เอส เอ เอส ถือหุ้นร้อยละ 30 ซึ่งในเวลาต่อมาได้มีการเพิ่มทุนอย่างเป็น ขั้นตอนตลอดมาจนถึงปีพุทธศักราช 2520 บริษัท เดินอากาศไทย ได้ซื้อหุ้นทั้งหมดคืนจาก เอส เอ เอส ตามมติ คณะรัฐมนตรี และมอบโอนหุ้นที่ซื้อมาให้กระทรวงการคลัง ดังนั้น การบินไทย จึงเป็นสายการบินของคนไทยอย่างแท้จริง และมี บริษัท เดินอากาศไทยกับกระทรวงการคลัง เป็นผู้ร่วมถือหุ้น ต่อมาเมื่อวันที่1 เมษายน 2531 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ดำเนินการรวมกิจการการบินภายในประเทศที่ดำเนินการ โดยบริษัท เดินอากาศไทย จำกัด เข้ากับกิจการของบริษัทฯ เป็นผลให้เงินทุนจดทะเบียนของบริษัทฯ เพิ่มขึ้นเป็น 2,230 ล้านบาท โดยมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ดังนั้นบริษัทฯ จึงเป็นสายการบินแห่งชาติที่รับผิดชอบกิจการ การบินพาณิชย์ ทั้งเส้นทางบินระหว่างประเทศ และเส้นทางบินภายในประเทศทั้งหมด และเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2534 มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการดำเนินธุรกิจที่สำคัญเกิดขึ้น โดยคณะรัฐมนตรี มีมติให้ดำเนินการดังนี้1. นำบริษัท ฯ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย2. เพิ่มทุนจดทะเบียนอีกจำนวน 3,000 ล้านบาท โดยนำหุ้นเพิ่มทุนส่วนแรกจำนวน 100 ล้านหุ้น ในราคาตามมูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท ออกจัดสรรก่อน3. ให้จัดหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 5 ล้านหุ้น ขายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ ในราคาตามมูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท4. จัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนส่วนที่เหลืออีกจำนวน 95 ล้านหุ้น เสนอขายประชาชนทั่วไป ทั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อเป็นการระดมทุนจากภาคเอกชน อันจะทำให้การบินไทย มีศักยภาพในการแข่งขันด้านการพาณิชย์ รวมทั้งเป็นการให้ประชาชนและพนักงาน ได้มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของสายการบินแห่งชาติด้วยบริษัทฯ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2534 โดยได้ทำการแปลงกำไรสะสมให้เป็นหุ้นเพิ่มทุนทำให้บริษัทฯ มีทุนจดทะเบียนเป็น13,000 ล้านบาท และทำการเพิ่มทุน จดทะเบียนใหม่อีกจำนวน 3,000 ล้านบาท รวมเป็นทุนจดทะเบียน 16,000 ล้านบาท เป็นทุนชำระแล้ว 14,000 ล้านบาท โดยกระทรวงการคลัง ถือหุ้นร้อยละ 79.5 และธนาคารออมสินถือหุ้นร้อยละ 13.4 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 7.1 กระจายสู่นักลงทุนทั่วไป ทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งพนักงานของบริษัทฯ และในวันที่20-21 พฤศจิกายน 2546 บริษัทฯ ได้เสนอขายหุ้นสามัญแก่ประชาชนทั่วไปจำนวน 442.75 ล้านหุ้น ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2543 วันที่ 20 สิงหาคม 2545 และวันที่ 16 กันยายน 2546 โดยหุ้นที่เสนอดังกล่าว เป็นหุ้นเพิ่มทุน 285,000,000 หุ้น และหุ้นเดิมของกระทรวงการคลัง 157,750,000 หุ้น โดยเงินที่ได้จากการเสนอขายหุ้นครั้งนี้ บริษัทฯ จะนำไปใช้ในการลงทุนในโครงการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ การปรับปรุงผลิตภัณฑ์บนเครื่องบิน และเป็นเงินทุนหมุนเวียนของบริษัทฯตั้งแต่เดือน กันยายน 2547 บริษัทฯได้จำหน่ายหุ้นให้กับพนักงานจำนวน 13,896,150 หุ้น ในราคาหุ้นละ 15 บาท ภายใต้โครงการจัดสรรหลักทรัพย์ให้พนักงาน (Employee Securities Option Plan) โดยบริษัทฯ จะยังคงจำหน่ายหุ้นให้กับพนักงานที่ถือใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นภายใต้โครงการดังกล่าวจนกระทั่งสิ้นสุดโครงการในเดือนเมษายน 2549



วิสัยทัศน์ของบริษัทฯ



เป็นสายการบินที่ลูกค้าเลือกเป็นอันดับแรก ให้บริการดีเลิศด้วยเสน่ห์ไทย



สัญลักษณ์ของการบินไทย

วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส




คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (อังกฤษ: Christopher Columbus ; ละติน:Christophorus Columbus; อิตาลี: Cristoforo Colombo; สเปน: Cristóbal Colón; โปรตุเกส: Cristóvão Colombo) เกิด ค.ศ. 1451 เสียชีวิตวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1506 เชื่อว่าน่าจะเป็นชาวเจนัว อิตาลี แต่ก็เป็นไปได้ว่าเขาอาจเกิดที่อื่น ตั้งแต่ จักรวรรดิอาราโกนีส (Aragó) ไปจนถึง อาณาจักรกาลีเซีย (Galicia) โคลัมบัสนั้นเป็นนักสำรวจและพ่อค้า เขาไปติดต่อกษัตริย์อิตาลีเพื่อจะออกเรือไปหาขุมทรัพย์ แต่ไม่สำเร็จ จึงไปขอพบพระเจ้าเฟอร์ดินันด์และพระนางอิซาเบลลาแห่งสเปน เพื่อขอทุนทรัพย์ในการแต่งกองเรือออกไปล่ามหาสมบัติยังดินแดนไกลโพ้น ในปี 1492 เขาได้เดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกไปถึงทวีปอเมริกา ในวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 1492 ภายใต้ธงชาติของสเปน หรือ เป็นตัวแทนของประเทศสเปนนั่นเอง.
โคลัมบัสมีความเชื่อว่าโลกนั้นมีรูปร่างเป็นทรงกลม และเราสามารถไปถึงตะวันออกไกล (Far East) โดยการเดินเรือไปทางทิศตะวันตก ซึ่งความเชื่อนี้เป็นที่ขัดแย้งกับแนวความเชื่อในยุคนั้นว่าโลกนั้นมีรูปทรงแบน แต่ปัญหาสำคัญที่มีการอภิปรายอย่างกว้างขวาง ก็คือ ความเป็นไปได้ของการเดินทางรอบโลก เนื่องมาจากอุปสรรคเรื่องของอาหาร และข้อจำกัดทางเทคโนโลยีการเดินเรือในสมัยนั้น เช่น การเดินเรือไปติดในบริเวณที่ไม่มีลมพัด ถึงแม้ว่าโคลัมบัสนั้นไม่ได้เป็นบุคคลแรกที่เดินทางมาถึงอเมริกา แต่ก็เป็นจุดเริ่มของการติดต่ออย่างถาวรระหว่างโลกใหม่ (ฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก) และ โลกเก่า (ฝั่งตะวันออกของมหาสมุทรแอตแลนติก)
ในสหรัฐอเมริกานั้น มีวันหยุดราชการ 1 วันเพื่อรำลึกถึงโคลัมบัส โคลัมบัสเป็นบุคคลแรกที่ค้นพบอเมริกา ก่อนอเมริโก เวสปุชชีเสียอีก ตอนนั้นเขากะจะไปที่อินดีสซึ่งปัจจุบันเป็นอินเดีย พอมาถึงเกาะแห่งหนึ่ง เขานึกว่าเกาะแห่งนี้เป็นอินดีส

วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

Sigmund Freud


ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) จิตแพทย์ชาวออสเตรีย เชื้อสายยิว เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2399 ในจักรวรรดิออสเตรียซึ่งปัจจุบันคือ สาธารณรัฐเช็ก และเสียชีวิตวันที่ 23 กันยายน พ.ศ.2482 รวมอายุ 83 ปี ครอบครัวมีอาชีพขายขนสัตว์ มีฐานะปานกลาง
ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) สนใจด้านวิทยาศาสตร์มาตั้งแต่เด็ก เรียนจบจากมหาวิทยาลัยเวียนนาสาขาวิทยาศาสตร์ แล้วเรียนต่อสาขาแพทยศาสตร์ จากนั้นได้ไปศึกษาต่อด้านโรคทางสมองและประสาทที่กรุงปารีสกับหมอผู้เชี่ยวชาญด้านอัมพาต ที่นั่นฟรอยด์ได้ค้นพบว่าความจริงแล้วคนไข้บางรายป่วยเป็นอัมพาตเนื่องจากภาวะทางจิตใจไม่ใช่ร่างกาย หลังจากกลับมาอยู่ที่กรุงเวียนนา ฟรอยด์จึงใช้วิธีการรักษาแบบจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) กับคนไข้ที่เป็นอัมพาต กล่าวคือให้ผู้ป่วยเล่าถึงความคับข้องใจหรือความหวาดกลัวและพยายามให้ผู้ป่วยเข้าใจเหตุการณ์นั้นๆ เพื่อลดความขัดแย้งในใจ ปรากฏว่ามีผู้ป่วยหลายรายหายจากอัมพาต
ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) ได้ศึกษาวิเคราะห์จิตใจของมนุษย์ และอธิบายว่า จิตใจทำหน้าที่ควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ มี 3 ลักษณะ คือ
1. จิตรู้สำนึก (Conscious mind) หมายถึง สภาวะจิตที่รู้ตัวอยู่ ได้แก่ การแสดพฤติกรรม เพื่อให้สอดคล้องกับหลักแห่งความเป็นจริง
2. จิตกึ่งสำนึก (Subconscious mind) หมายถึง สภาวะจิตที่ระลึกถึงได้ แต่มิได้แสดงออกเป็นพฤติกรรมในขณะนั้น เป็นส่วนที่รู้ตัวสามารถดึงออกมใช้ได้ทุกเมื่อที่ต้องการ
3. จิตใต้สำนึก (Unconscious mind) หมายถึง สภาวะจิตที่ไม่อยู่ในภาวะที่รู้ตัวระลึกถึงไม่ได้ เป็นสิ่งที่ฝังลึกอยู่ภายในจิตใจ แต่มีอิทธิพลจูงใจพฤติกรรม และการดำเนินชีวิตของคนเรามากที่สุด
เขาอธิบายว่าจิตใต้สำนึกของคนเราแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ อิด (Id) อีโก้ (Ego) และ ซุปเปอร์อีโก้ (Superego) โดย อิดจะเป็นพลังอารมณ์ความรู้สึกที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด เช่น รัก โลภ โกรธ หลง หรือเรียกว่าเป็นสัญชาตญาณดิบของคนเรานั่นเอง ซึ่งหากคนเรามีอิด เพียงอย่างเดียวก็จะไม่ต่างอะไรกับสัตว์ที่ไม่สามารถยับยั้งชั่งใจตัวเองได้ ในขณะที่ ซุปเปอร์อีโก้จะเป็นพลังงานที่เกิดจากการเรียนรู้ค่านิยมต่างๆ เช่น ความดี ความชั่ว มโนธรรม เป็นต้น ซึ่งเป็นพลังในส่วนดีของจิตมนุษย์ที่จะคอยหักล้างกับพลังอิด ทั้งนี้ในระหว่างความสุดขั้วของอิด และซุปเปอร์อีโก้นั้นจะมี อีโก้อยู่ระหว่างกลางคอยทำหน้าที่ควบคุมไม่ให้คนเราแสดงสัญชาตญาณดิบออกมามากเกินไป แต่ก็ไม่ถึงขั้นทำให้คนเราแสดงออกซึ่งมโนธรรมเพียงอย่างเดียวเช่นกัน