วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วิหารอาบูซิมเบล

อาบู ซิมเบล (อังกฤษ: Abu Simbel; อาหรับ: أبو سنبل‎ หรือ أبو سمبل‎) เป็นมหาวิหารของอียิปต์โบราณอันประกอบขึ้นจากหินขนาดใหญ่สองก้อน มีลักษณะเป็นรูปปั้นองค์ฟาโรห์ทั้งสี่ ส่วนองค์ที่สองถล่มลงเนื่องจากแผ่นดินไหว ตั้งอยู่ทางใต้ของอียิปต์ บนริมฝั่งตะวันตกของทะเลสาบนัสซอร์ ระยะทางประมาณ 290 กิโลเมตรจากอัสวาน และเป็นโบราณสถานหนึ่งในมรดกโลกขององค์การยูเนสโก นอกจากนี้ยังรู้จักกันในนาม อนุสรณ์สถานแห่งนูเบียน แต่เดิมมหาวิหารถูกก่อสร้างโดยการเจาะแกะสลักเข้าไปในภูเขาหินในช่วงรัชสมัยของฟาโรห์รามเสสที่ 2 ในช่วงศตวรรษที่ 13 ก่อนคริสตกาล และยังเป็นอนุสรณ์สถานแห่งสุดท้ายของพระองค์และพระมเหสีของพระองค์นั้นคือพระนางเนเฟอร์ทารี ซึ่งอาบู ซิมเบล ยังมีจุดประสงค์เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองกับชัยชนะของอียิปต์ที่มีต่อนูเบียที่สมรภูมิแห่งคาเดส อีกทั้งเพื่อเป็นการข่มขู่นูเบียไม่ให้มารุกรานอียิปต์ซึ่งเป็นอาณาจักรใกล้เคียง อย่างไรก็ตามมหาวิหารทั้งหมดถูกเคลื่อนย้ายโดยคณะวิศวกรจากสวิสเซอร์แลนด์ ซึ่งใช้เวลาตลอดทั้งทศวรรษที่ 1960 เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาน้ำท่วมจากการสร้างเขื่อนอัสวาน อันจะส่งผลให้มหาวิหารและโบราณสถานที่รายรอบอยู่ต้องจมอยู่ก้นทะเลสาบนัสซอร์ ปัจจุบันมหาวิหารเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมอย่างมากและโด่งดังแห่งหนึ่งของอียิปต์ ซึ่งครั้งหนึ่งนักท่องเที่ยวชาวเยอรมันและญี่ปุ่นเคยถูกลอบสังหารขณะเดินทางไปยังสถานที่แห่งนี้

ประวัติศาสตร์
การก่อสร้างของมหาวิหารทั้งหมดเริ่มต้นขึ้นประมาณปี 1224 ก่อนคริศตกาล และเสร็จสมบูรณ์ในอีก 20 ปีต่อมา ในปี 1244 ก่อนคริศตกาล รู้จักกันในนาม "วิหารแห่งรามเสสอันเป็นที่รักของเทพเจ้าอามุน ซึ่งเคยเป็นหนึ่งในหกวิหารหินแกะสลักที่ก่อสร้างขึ้นในนูเบียในช่วงระยะเวลาการครองราชย์อันยาวนานของฟาโรห์รามเสสที่ 2 ซึ่งอียิปต์โบราณเจตนาให้เป็นที่ประทับใจต่ออาณาจักรเพื่อนบ้านทางใต้ อีกทั้งยังเจตนาเพื่อเป็นการเผยแพร่ศาสนาของชาวอียิปต์เข้าไปในแคว้นทางใต้ นักประวัติศาสตร์กล่าวว่าสถาปัตยกรรมของอาบู ซิมเบลยังบ่งบอกถึงความภูมิใจและตัวตนของฟาโรห์รามเสสที่ 2 อยู่เล็กน้อย
การค้นพบ
ด้วยกาลเวลาที่ล่วงเลยผ่านไปอย่างยาวนาน มหาวิหารถูกทิ้งร้างและตกอยู่ในสภาพที่ทรุดโทม จนกระทั่งมหาวิหารถูกกลืนกินโดยทรายจากทะเลทรายซาฮาร่า ซึ่งรูปแกะสลักขนาดยักษ์ขององค์ฟาโรห์ทั้งสี่ถูกกลืนกินโดยทรายจนถึงหัวเข่าในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล จนกลายเป็นมหาวิหารที่ถูกหลงลืมกระทั่งปี ค.ศ. 1813 เมื่อนักประวัติศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรมตะวันออกชาวสวิสเซอร์แลนด์ โจฮัน ลุดวิก เบิร์คฮารดต์ หรือรู้จักกันในนาม เจแอล เบิร์คฮารดต์ ค้นพบส่วนบนของฟรีส (ลวดลายสลักใต้ชายคาของสิ่งก่อสร้าง) โจฮันได้เล่าถึงการค้นพบของเขาให้แกนักสำรวจชาวอิตาลีที่ชื่อ จิโอวานนี่ บาติสต้า เบลโซนี่ ผู้ที่เดินทางไปยังจุดค้นพบแต่ก็ไม่สามารถขุดไปยังทางเข้าของมหาวิหารได้ เบลโซนี่ได้กลับมาอีกครั้งในปี ค.ศ. 1817 ครั้งนี้เขาประสบความสำเร็จจากความพยายามที่จะเข้าไปยังมหาวิหารของเขา เขากลับออกมาพร้อมกับข้าวของอันล้ำค่าหรือข้าวของที่สามารถแบกออกมาได้ติดตัวออกมาด้วย ส่วนชื่อ "อาบู ซิมเบล" มาจากชื่อของเด็กท้องถิ่นที่เคยนำชมมหาวิหารในช่วงที่มีการสำรวจอีกครั้ง ซึ่งเขาเป็นผู้ค้นพบส่วนที่ถูกฝังของมหาวิหารที่เหลือ จากการที่ทรายได้เคลื่อนตัวเผยให้เห็นส่วนที่เหลือ กระทั่งท้ายที่สุดได้มีการเรียกชื่อตามชื่อของเขา



วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ฟาโรห์ตุตันคามุน

ภาพด้านซ้ายคือเมื่อทีมวิจัยได้ข้อมูลโครงหน้าจากซีทีสแกนเมื่อปี 2005 ก็จำลองออกมา เป็นหน้า 3 มิติของ King Tut โดยนำมาเปรียบเทียบกับมัมมีร่างจริงที่ด้านขวา


ทุตอังค์อามุน ประสูติ: 1341 ปีก่อนคริสตกาล, ทิวงคต: 1323 ปีก่อนคริสตกาล เป็นฟาโรห์อียิปต์พระองค์ที่12 แห่งราชวงศ์ที่ 18 เสวยราชย์ระหว่าง 1333-1324 ปีก่อนคริสตกาล


พระประวัติ
การบริหารบ้านเมืองจึงตกอยู่กับวิเซียร์ ไอย์ (Vizier Ay) ฟาโรห์ทุตอังค์อามุนได้ครองราชย์ในรัชสมัยของพระองค์ช่วงสั้นๆ ราว 9 ปี ก็สิ้นพระชนม์เสียก่อน เป็นเพราะฟาโรห์ทุตอังค์อามุน สิ้นพระชนม์อย่างกะทันหัน วิเซียร์ อัยย์จึงได้สร้างสุสานถวายแบบง่าย ๆ
ราวสองร้อยปีต่อมา มีการสร้างสุสานของฟาโรห์รามเสสที่ 6 ทับสุสานของ ฟาโรห์ทุตอังค์อามุน ทั้ง ๆ ที่คนงานก็รู้แต่นึกว่าเป็นบุคคลธรรมดาจึงไม่ได้เสนอเบื้องบน จึงทำให้สุสานของฟาโรห์ทุตอังค์อามุนนี้ ปลอดภัยและนับเป็นสุสานที่สมบูรณ์ที่สุด
ฟาโรห์ทุตอังค์อามุนทรงได้อภิเษกสมรสกับพระนางอันเคเซนามุน พระธิดาพระองค์ที่ 3 จากทั้งหมด 6 พระองค์ในพระนางเนเฟอร์ติติ ซึ่งเป็นมเหสีองค์แรกของฟาโรห์อาเมนโฮเทปที่ 4 เจ้าหญิงจากมิตันนี (Mitanni) ซึ่งเป็นอาณาจักรโบราณแห่งหนึ่งตั้งอยู่บริเวณทางเหนือของดินแดนเมโสโปเตเมีย
ฟาโรห์ทุตอังค์อามุนสวรรคตอย่างฉับพลันโดยไม่ทราบสาเหตุ ทั้งๆ ที่ยังมีพระชนมายุยังไม่ครบ 19 ชันษา อีกทั้งไม่มีองค์รัชทายาท วิซิเออร์ อัยย์ จึงรีบฉวยโอกาสแต่งกับราชินีม่ายเพื่อจะได้ครอบครองดินแดนอียิปต์ต่อไป

ครั้งแรกที่นำคิงตัทไปเอ็กซเรย์ในปี 2511 จนพบเศษกระดูกในกะโหลกศรีษะ ทำให้เชื่อว่าพระองค์น่าจะถูกปลงพระชนม์ด้วยลูกธนู ซึ่งนักประวัติศาสตร์บางรายก็สันนิษฐานเหตุว่า เป็นเพราะตุตันคาเมนต้องการนำแนวคิด “พหุเทวนิยม” (การนับถือพระเจ้าหลายองค์) กลับมาสู่ชาวอียิปต์อีกครั้ง หลังจากที่อาเคนาเตน (Akhenaten) พระราชบิดาของคิงตัทได้ปฏิรูปศาสนาอย่างถอนรากถอนโคนนำเอา “เอกเทวนิยม” ให้นับถือสุริยเทพ “อาเตน” เพียงองค์เดียว แต่หลังจากอาเคนาเตนสิ้นพระชนม์ลง ศาสนสถานและชื่อต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ “อาเตน” จึงถูกลบออกไป รวมทั้งพระนามของ “ตุตันคาเตน” ที่เปลี่ยนมาเป็น “ตุตันคาเมน” อีกด้วย


หน้ากากทองคำขององค์ฟาโรห์ตุตันคามุน

คำสาปของฟาโรห์ตุตันคาเมน

ไม่กี่เดือนหลังจากการเปิดสุสานตุตันคาเมน เปิดเมื่อปี 1922 ผู้ร่วมพิธีเปิดในวันนั้นเสียชีวิตไป 22 คน ด้วยเหตุการณ์ลึกลับและหาคำอธิบายไม่ได้ทำให้เชื่อกันว่า ความตายเหล่านั้นเกิดขึ้นเพราะฤทธิ์คำสาป
วันที่ 4 พฤศจิกายน 1922 โฮเวิร์ด คาร์เตอร์(Howard Carter) และลอร์ด คาร์นาวอน(Lord Carnarvon) ชาวอังกฤษค้นพบสิ่งที่น่าตื่นเต้นที่สุดในโลก พวกเขาเป็นสองคนแรกที่เข้าไปในสุสานของตุตันคาเมนในรอบ 3,000 ปี ในห้องที่พวกเขาพบเต็มไปด้วยทองคำและของมีค่ามากมาย ซึ่งเจ้าของของสิ่งมีค่าเหล่านี้คือฟาโรห์หนุ่มที่มีพระนามว่า "ตุตันคาเมน" นั่นเองและเหนือสุสานนี้มีข้อความอักษรอียิปต์โบราณซึ่งแปลได้ว่า "มัจจุราชจะมาสู่ผู้ซึ่งรบกวนการบรรทมของฟาโรห์"


สอง เดือนต่อมาลอร์ดคาร์นาร์วอน ก็ตายเพราะถูกยุงกัดทำให้เป็นนิวมอเนีย แต่ที่น่าประหลาดอย่างยิ่งที่มัมมี่ของยุวกษัตริย์ฟาโรห์ก็มีรอยยุงกัดที่ แก้มซ้าย ซึ่งเป็นจุดเดียวกับที่ ลอร์ดคาร์นาร์วอน ถูกยุงกัดเหมือนกัน หลังจากนั้นไม่นานนัก อาร์เธอร์ แมค นักโบราณคดีอเมริกันซึ่งร่วมทีมกันขุดสุสานครั้งนี้ด้วย ได้อุทธรณ์ว่าเขารู้สึกเหนื่อยอ่อน แล้วทันใดนั้นก็เข้าขั้นโคม่าเขาหมดลมก่อนที่หมอจะมาถึง และทางแพทย์ก็ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเขาตายด้วยโรคอะไร

ต่อมาก็เป็นผู้เชี่ยวชาญไอยคุปต์อีกคนหนึ่ง เขาคือ จอร์จ กูล์ด เพื่อนสนิทของคาร์นาร์วอน ซึ่งได้รีบเดินทางมาอียิปต์หลังจากได้ทราบข่าวมรณกรรมของคาร์นาร์วอน กูลด์ ได้เดินทางไปที่สุสานของฟาโรห์ ในวันต่อมาเขาล้มฟุบลงด้วยเป็นไข้ขึ้นสูง อีก 12 ชั่วโมง ต่อมาเขาถึงแก่กรรม อาร์ซิบัลด์ เรียด นักรังสีวิทยาที่ฉายเอ็กซ์เรย์มัมมี่พระศพฟาโรห์ได้ถูกส่งตัวกลับอังกฤษ เพราะเกินอ่อนเปลี้ยไร้เรี่ยวแรงขึ้นมาเฉย ๆ แล้วก็ถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา

ริชาร์ด เบธเฮลล์ เลขาส่วนตัว คาร์นาร์วอน ในการขุดค้นสุสานครั้งนี้พบว่านอนตายอยู่บนเตียงเนื่องจากหัวใจวาย

โจเอล วูล ซึ่งเป็นแขกเชิญชุดแรกที่ไปดูสุสาน ตายในเวลาถัดมาไม่นานนัก ด้วยไข้ลึกลับที่แพทย์ไม่สามารถวินิจฉัยได้

ภายในเวลา 6 ปีที่มีการขุดสุสานฟาโรห์ตุตันคาเมน ผู้ที่ได้ร่วมขุดค้นได้ตายไปถึง 12 คน และภายใน 7 ปีมีเพียง 2 คนเท่านั้นที่ร่วมในการขุดมีชีวิตอยู่ นอกจากนี้ยังมีผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือใกล้ชิดผู้ที่ขุดสุสานจำนวน เกือบ 22 คน ได้ถึงแก่กรรมในเวลาไม่สมควร เช่น เลดี้คาร์นาร์วอน อีกคนหนึ่งทีฆ่าตัวตายด้วย เนื่องจากเกิดเป็นบ้าขึ้นมา มีผู้เดียวที่ร่วมเป็นหัวหน้าในการขุดสุสานฟาโรห์ที่โชคดีมีชีวิตอยู่คือ โฮเวิร์ด คาร์เตอร์ เขาตายตามธรรมชาติ เมื่อปี 1939


โฮเวิร์ดกับพระศพของ King Tutankhamun

วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553

หุบผากษัตริย์

หุบผากษัตริย์ : สถานสถิตชั่วนิรันดร์แห่งวิญญาณฟาโรห์

กำเนิดอำนาจใหม่
ยุคอียิปต์เก่าซึ่งย้อนไปได้ถึงราว 3,000 ปีก่อนคริสตกาล อาจกล่าวได้ว่าเป็นวันเวลาของปิรามิดขนาดมหึมาที่ตั้งตระหง่านทอดเงาบนที่ราบสูงแห่งกิซา โดยมีหมู่สุสานของเชื้อพระวงศ์และขุนนางคนสำคัญอยู่แทบเบื้องบาทของมันดั่งจะประกาศอำนาจอันศักดิ์สิทธิ์แห่งฟาโรห์ ผู้ปกครองอันสืบสายเลือดมาจากทวยเทพล่วงเลยมานับพันปีให้หลัง อำนาจอันศักดิ์สิทธิ์ล่มสลายลงด้วยความเสื่อมตามเงื่อนไขของกาลเวลาและการรุกรานของฮิคโซส ชนเผ่าเร่ร่อนจากภายนอก จนกระทั่งเหล่าชนชั้นสูงแห่งนครธีบส์ได้ลุกขึ้นมาขับไล่เผ่าพวกฮิคโซสออกไปและรวบรวมอาณาจักรอียิปต์ขึ้นมาใหม่ เป็นสมัยที่นักอียิปต์วิทยาเรียกว่า “สมัยอาณาจักรใหม่” อันเป็นยุคที่อำนาจของชาวอียิปต์ถูกฟื้นฟูขึ้นมาอย่างสมเกียรติและแผ่ขยายออกไปไกลที่สุดในหน้าประวัติศาสตร์อียิปต์เพื่อตอกย้ำตัวตนของอำนาจใหม่ที่อุบัติขึ้น เหล่าชนชั้นสูงแห่งธีบส์จึงได้เลือกสิ่งที่ต่างออกไปเพื่อแสดงพลังของพวกเขา และเพื่อแสดงว่ายุคใหม่มาถึงแล้ว

เนินเขาธีบัน (Theban Hills) นอกเมืองธีบส์ (ลักซอร์ในปัจจุบัน) บริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไนล์ ถูกปกคลุมด้วยเงาของยอดเขาอัล-คูร์น (al-Qurn) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในสมัยอียิปต์โบราณว่า “ทา ดีฮีนต์ (ta dehent)” แปลว่า ยอดสูงสุดของภูเขา (The Peak) และเมื่อแหงนหน้ามองขึ้นไปจากเนินเขาธีบัน ก็จะพบว่า อัล-คูร์นในวันนี้หรือทา ดีฮีนต์เมื่อวันวาน มีรูปลักษณ์ปิรามิดขนาดยักษ์ไม่มีผิดแม้จะต้องการสร้างสิ่งใหม่ แต่ความคิดเรื่องโลกหลังความตายของเหล่าชนชั้นสูงแห่งธีบส์ก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเท่าใดนัก พวกเขาอาจต้องการความยิ่งใหญ่เทียบเท่าวันที่ปิรามิดประกาศศักดา แต่สิ้นเปลืองน้อยลงเพราะเป็นช่วงเวลาที่ฟื้นฟูบ้านเมืองใหม่ สภาพภูมิประเทศบนเนินเขาธีบันซึ่งคล้ายคลึงกับหมู่สุสานบนที่ราบสูงกิซานอกอดีตนครหลวงเมมฟิสจึงอาจเป็นทางเลือกที่พวกเขาปรารถนา

จากจุดประสงค์ที่ต้องการใช้สภาพภูมิประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการก่อสร้างของเหล่าสถาปนิกและวิศวกรในสมัยอาณาจักรอียิปต์ใหม่นี้เอง จึงกลายเป็นที่มาของเหตุผลว่าทำไม ฟาโรห์แห่งอียิปต์ในสมัยนี้จึงได้เลือกอาณาบริเวณนั้นเป็นที่สถิตแห่งลมหายใจเฮือกสุดท้ายของตน และเป็นจุดเริ่มต้นของหนึ่งในสุสานอันยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยก่อสร้างมา อาณาบริเวณได้รับการขนานนามว่า “หุบผากษัตริย์” (Valley of the Kings)



ก้าวแรกของหุบผากษัตริย์
จากเสียงสะท้อนของปิรามิดในสมัยอาณาจักรเก่า เป็นเวลานับพันปีให้หลังที่สุสานหลวงแห่งแรกถูกสร้างขึ้นในบริเวณหุบผากษัตริย์ บริเวณซึ่งตำแหน่งของมันถูกโดดเดี่ยวจากโลกภายนอกและพรั่งพร้อมด้วยเหล่าเมดไจ (Medjai) หน่วยองครักษ์พิเศษที่ได้รับมอบหมายภารกิจให้พิทักษ์พื้นที่อันเป็นสุสา โดยจากหลักฐานเท่าที่พบเชื่อกันว่า สุสานหลวงแห่งแรกในหุบผากษัตริย์น่าจะเป็นของฟาโรห์ทุตโมสที่ 1 (Thutmose I) แห่งราชวงศ์ที่ 18

หุบผากษัตริย์ถูกใช้สำหรับเป็นสถานที่ฝังศพอยู่ราว 500 กว่าปีโดยเริ่มตั้งแต่ 1,539 ปีก่อนคริสตกาลจนถึง 1075 ปีก่อนคริสตกาลในรัชสมัยของฟาโรห์รามเซสที่ 11 (Ramesses XI) มีสุสานในหุบเขาแห่งนี้อย่างน้อย 63 สุสาน
แม้ชื่อจะบ่งบอกว่าเป็นหุบเขาสำหรับบรรจุพระศพของฟาโรห์เท่านั้น แต่ในความจริงกลับมีสุสานของเหล่าผู้สูงศักดิ์มากมายอยู่ในหุบผากษัตริย์ ส่วนใหญ่เป็นบุคคลที่องค์ฟาโรห์โปรดปราน อาทิ เชื้อพระวงศ์หรือขุนนางใกล้ชิดตลอดจนภรรยาและบุตรธิดาของพวกเขาเหล่านั้น ในรัชสมัยของฟาโรห์รามเซสที่ 1 (Ramesses I) ได้มีการก่อสร้างหุบผาราชินี (Valley of the Queens) เพื่อเป็นสุสานสำหรับราชินีโดยเฉพาะ แต่ถึงกระนั้นราชินีบางองค์ก็เลือกที่จะถูกฝังเคียงข้างพระสวามีในหุบผากษัตริย์

ในสมัยราชวงศ์ที่ 18 มีเพียงฟาโรห์เท่านั้นที่ได้สิทธิ์ในการสร้างสุสานขนาดใหญ่ในหุบผากษัตริย์ ผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นเชื้อพระวงศ์หรือไม่ หากต้องการถูกฝังที่นั่นจะได้รับอนุญาตเพียงสุสานขนาดเล็กซึ่งเกิดจากการขุดโพรงหินเท่านั้น และสุสานของคนเหล่านี้ก็จะอยู่ในตำแหน่งที่ปิดทางเข้าสุสานของฟาโรห์พระองค์นั้นๆพอดี

นับแต่รัชสมัยฟาโรห์ทุตโมสที่ 1 เป็นต้นมา ฟาโรห์ทุกพระองค์ในราชวงศ์ที่ 18 เลือกที่จะฝังพระองค์ในหุบผากษัตริย์ จนมาถึงรัชสมัยฟาโรห์เอเมนโฮเทปที่ 3 (Amenhotep III) ที่ได้ย้ายไปสร้างสุสานของพระองค์ในหุบเขาตะวันตก ตามมาด้วยโอรสของพระองค์คือฟาโรห์อัคเคนาเตน (Akhenaten) ได้สร้างสุสานของพระองค์ที่นครอาร์มานา ฟาโรห์ในราชวงศ์ที่ 18 กลับมาสร้างสุสานอีกครั้งในรัชสมัยของฟาโรห์ตุตันคามุน (Tutankhamun)

เมื่อถึงสมัยราชวงศ์ที่ 19 และ 20 จำนวนสุสานในหุบผากษัตริย์ได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยของฟาโรห์ผู้มีโอรสมากอย่างฟาโรห์รามเซสที่ 2 และฟาโรห์รามเซสที่ 3 ซึ่งได้มีการก่อสร้างสุสานจำนวนมากในหุบผากษัตริย์ให้กับเหล่าโอรสของพระองค์ อย่างไรก็ดี มีฟาโรห์ในช่วงเวลานี้บางพระองค์ไม่สร้างสุสานในหุบผากษัตริย์ อาทิ ฟาโรห์ทุตโมสที่ 2 (Thutmose II) เลือกสร้างสุสานของพระองค์ที่ ดราอาบู เอล-นาคา (Dra' Abu el-Naga') ซึ่งเป็นบริเวณสุสานของราชวงศ์ที่ 17

วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เมืองอเลกซานเดรีย

เมืองอเล็กซานเดรีย
الإسكندرية
เดิมทีเมืองอเล็กซานเดรียชื่อว่า ราคอนดาห์ เป็นหมู่บ้านชาวประมงทั่ว ๆ ไป ซึ่งมีผู้อยู่อาศัยมากกว่า 1,20 ปีก่อนที่พระเจ้า อเล็กซานเดอร์มหาราชจะมารู้จักในปี 332 ก่อนคริสตกาล


หลังจากที่จักรวรรดิโรมันได้รวบรวมอียิปต์เข้าเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของตนนั้น เมืองอเล็กซานเดรียยังนับว่ารุ่งเรืองอยู่ มีอยู่ระยะหนึ่งได้เป็นศูนย์กลางที่สำคัญแห่งหนึ่งในสามของศาสนาคริสต์ มรดกชิ้นหนึ่งที่ชาวโรมันทิ้งไว้และได้กลายเป้นหนึ่งในสิ่งมหัสจรรย์ของ โลกยุคกลาง นั่นคือหลุมฝังศพใต้ดินแห่งอเล็กซานเดรีย หรือ Catacombs


เมื่อชาวอาหรับเข้ามาแทนที่ชาวโรมันในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 7 เมืองหลวงย้ายไปอยู่ที่ไคโร เมืองอเล็กซานเดรียกลายเป็นศูนย์ กลางการค้าขายระหว่างซีกโลกตะวันตกและตะวันออก เป็นต้นว่าเครื่องเทศ เครื่องแก้ว และของฟุ่มเฟือยทั้งหลาย


ปัจจุบันอเล็กซานเดรียเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสอง และมีความสำคัญรองจากกรุงไคโรเท่านั้น โรงงานอุตสาหกรรมประมาณ 65% ของประเทศมาตั้งอยู่ที่นี่และเมืองใกล้เคียง นอกจากนี้ สินค้ากว่า 80% ที่ส่งออกและนำเข้าต้องมาผ่านเมืองท่าแห่งนี้


แม้เมืองอเล็กซานเดรียได้กลายเป้นเมืองอุตสาหกรรมและเมืองท่านานาชาติไปแล้ว แต่ยังสามารถชักจูงนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลก โดยเฉพาะโบราณสถานและโบราณวัตถุที่หลงเหลือยู่ ใครที่สนใจของเหล่านี้ก็มาได้ เพราะติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นเมืองตากอากาศที่มีชื่อ เสียงแห่งหนึ่งของโลก





วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ประเทศอียิปต์

สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์
جمهورية مصر العربية (อาหรับ)



ธงประจำชาติ

สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ (Arab Republic of Egypt) หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า อียิปต์ (Egypt) (อาหรับ: مصر (มิศรุ), ถ่ายเขียนเป็นอักษรโรมันว่า Mişr หรือ Maşr ในภาษาถิ่นของอียิปต์) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือที่มีประชากรมากที่สุด


ประเทศอียิปต์มีพื้นที่ประมาณ 1,020,000 กม.² ซึ่งรวมถึงคาบสมุทรซีนาย (ถ้าเป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้) ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศตั้งอยู่ในแอฟริกาเหนือ มีพรมแดนด้านตะวันตกติดกับประเทศลิเบีย ด้านใต้ติดกับประเทศซูดาน ด้านตะวันออกเฉียงเหนือติดกับประเทศอิสราเอล ชายฝั่งทางเหนือติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และทางตะวันออกติดกับทะเลแดง


ประชากรอียิปต์ส่วนใหญ่อาศัยบนทั้งสองฝั่งของแม่น้ำไนล์ (ประมาณ 40,000 กม.2) และคลองสุเอซ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นส่วนของทะเลทรายสะฮารา และมีผู้คนอาศัยอยู่เบาบาง

ประเทศนี้มีชื่อเสียงในด้านอารยธรรมโบราณ รวมถึงอนุสาวรีย์โบราณที่น่าตื่นตาที่สุดในโลก ได้แก่ พีระมิด อารามคาร์นัค และหุบเขากษัตริย์ (Valley of the Kings) ในปัจจุบัน อียิปต์ถือว่าเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและวัฒนธรรมของโลกอาหรับ


ชื่อ Egypt มาจากชื่อภาษาละตินว่า Aegyptus และชื่อภาษากรีก ว่า Αιγυπτος (Aiguptos: ไอกึปตอส นิยมใช้ในภาษาไทยว่า ไอยคุปต์) จากภาษาอียิปต์โบราณว่า Hi-ku-ptah: ฮิ-คุ-ปตาห์ ซึ่งเป็นชื่ออารามที่เมืองเมืองเทเบส

♥ ประวัติ
ประเทศอียิปต์เป็นประเทศทีมีประวัติศาสตร์ยาวนาน ถึง 5,000 กว่าปี


ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1882 อังกฤษส่งเรือรบไปยังเมืองท่าอเล็กซานเดรีย และยึดครองอียิปต์ได้สำเร็จ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 อังกฤษได้ประกาศว่าอียิปต์เป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษ แต่หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ชาวอียิปต์ที่รักชาติได้เคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราช ใน ค.ศ. 1922 อังกฤษได้ให้เอกราชแก่อียิปต์ โดยเมื่อแรกรับเอกราช อียิปต์ได้ปกครองโดยราชวงศ์มูฮัมหมัดอาลี ที่สืบเชื้อสายจากสุลต่านแห่งอียิปต์ โดยสุลต่านฟูอัด ได้สถาปนาพระองค์เป็น พระเจ้าฟูอัดที่ 1 แห่งอียิปต์ และปกครองต่อมาอีกสองพระองค์คือ พระเจ้าฟารุกที่ 1 แห่งอียิปต์ และพระเจ้าฟูอัดที่ 2 แห่งอียิปต์ ก็เป็นอันสิ้นสุดราชวงศ์มูฮัมหมัดอาลี และระบอบกษัตริย์แห่งอียิปต์ โดยได้มีการทำรัฐประหารเป็นระบอบสาธารณรัฐจนถึงปัจจุบัน

♥ ภูมิศาสตร์

ที่ตั้ง อียิปต์ตั้งอยู่บนมุมสุดทางตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา และบริเวณเหนือข้ามคลองสุเอซไปในคาบสมุทรไซนาย


— ภาคเหนือมีอาณาเขตติดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
— ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ติดอิสราเอล
— ภาคตะวันออก ติด
ทะเลแดง
— ภาคใต้ ติด
ซูดาน
— และติด
ลิเบียทางภาคตะวันตก


อียิปต์เป็นประเทศที่มีแผ่นดินเชื่อมต่อระหว่างทวีปแอฟริกากับเอเชีย ผ่านตะวันออกกลาง ซึ่งจะเป็นจุดเชื่อมต่อที่มีความสำคัญมาแต่โบราณ หลังจากได้มีการขุดและเปิดใช้คลองสุเอซ เมื่อปี พ.ศ. 2412 (ค.ศ. 1869) เส้นทางผ่านคลองสุเอซของอียิปต์ได้กลายเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก

♥ ประชากร

มีจำนวนประมาณ 70 ล้านคน (ปี 2547) อยู่ในเขตเมืองร้อยละ 45 ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามบริเวณ 2 ฝั่งและที่ราบลุ่มแม่น้ำไนล์ ประกอบด้วย 3 เชื้อชาติ คือ แฮมิติก-แซมิติก 99.8% เบดูอิน และนูเบียน 0.2% อัตราเพิ่มของประชากร ประมาณปีละ 1.9 % อายุเฉลี่ย 65 ปี

ความหนาแน่นประชากรโดยเฉลี่ยทั่วประเทศ ประมาณ 75.68 คน/ตร.กม. กรุงไคโรและ ปริมณฑล มีประชากรประมาณ 16 ล้านคน จะมีความหนาแน่นมากที่สุดเฉลี่ย 34,000-35,000 คน/ตร.กม. รองลงมาคือ เมืองอเล็กซานเดรีย มีประชากรประมาณ 4 ล้านคน ความหนาแน่นเฉลี่ย 13,000-15,000 คน/ตร.กม. และเมือง ปอร์ต ซาอิด มีประชากร 526,000 คน ความหนาแน่นเฉลี่ย 8,800-9,000 คน/ตร.กม.


กรุงไคโร

พีรามิดและรูปปั้นสฟิงค์

วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

อนุสาวรีย์เมานต์รัชมอร์


ภูเขารัชมอร์ หรือ เมานต์รัชมอร์ (Mount Rushmore) ตั้งอยู่ในรัฐเซาท์ดาโคตา มีรูปสลักหน้าประธานาธิบดีอเมริกันสี่คนบนหน้าผาหินแกรนิตสูง 18 เมตร โดยแต่ละคนจะเป็นตัวแทนของอุดมการณ์ในแต่ละด้านของประเทศ
จอร์จ วอชิงตัน - ด้านการสร้างชาติ
โธมัส เจฟเฟอร์สัน - ด้านปรัชญาการเมือง
ธีโอดอร์ รูสเวลต์ - ด้านการแผ่ขยายและอนุรักษ์
อับราฮัม ลิงคอล์น - ด้านการสงวนรักษา
—> โดยรูปเหมือนทั้งสี่ได้แกะสลักเมื่อปี ค.ศ. 1927 - ค.ศ. 1941
—> ย้อนกลับไปในปี ค.ศ. 1923 โดเอน รอบินสัน นักประวัติศาสตร์แห่งรัฐเซาท์ดาโกตา เสนอแนะว่าน่าจะแกะสลักยอดเขาหินแกรนิตแหลมชันในภูเขาแบล๊คฮิลล์ ที่มีชื่อว่า เดอะ นีเดิลส์ หรือแท่งเข็ม ให้เป็นรูปเหมือนวีรบุรุษตะวันตกของอเมริกา เช่น คิด คาร์สัน และ บัฟฟาโล บิล โคดี แต่บอร์กลัมซึ่งเป็นผู้ดำเนินงานโครงการนี้ไม่เห็นด้วย เขาคิดว่างานใหญ่เช่นนี้เป็นงานที่มีความสำคัญระดับชาติ คำตอบคือ 4 ประธานาธิบดี ผู้ได้รับเลือกให้เป็นสัญลักษณ์ของกำเนิดและอุดมคติแห่งชาติ
—> งานสลักอนุสาวรีย์แห่งชาติดำเนินการระหว่างค.ศ. 1927 - ค.ศ. 1941 ด้วยค่าใช้จ่าย 990,000 ดอลลาร์สหรัฐ ส่วนใหญ่มาจากงบประมาณของรัฐบาลกลาง บางส่วนได้มาจากการบริจาคของประชาชน คนงานส่วนใหญ่เป็นคนงานเหมืองในท้องถิ่น ภายในเวลา 14 ปี ต้องจ้างคนงานแกะสลักร่วม 360 คน
—> ทำเลสำหรับอนุสาวรีย์ บอร์กลัมเลือกจุดที่มีชื่อว่า เมานต์ รัชมอร์ ความสูง 1,745 เมตร เพราะหินแกรนิตบริเวณนั้นเนื้อละเอียด แต่กระนั้นยังต้องทำความสะอาดผิวหน้าของหิน กว่าจะถึงเนื้อหินชั้นที่มีคุณภาพเหมาะแก่การแกะสลัก ต้องตัดผิวที่กรำแดดกรำฝนและแตกร้าวทิ้งไปรวมน้ำหนัก 450,000 ตัน มองหน้าประธานาธิบดีแล้วไล่สายตาลงเชิงเขา หินที่ถูกสกัดดาวรุ่งทิ้งกลาดเกลื่อนอยู่ตรงนั้น
—> นอกจากความเหมือนของดวงหน้า ดวงตาของประธานาธิบดีทั้ง 4 ยิ่งโดดเด่น วิธีการคือแกะบริเวณที่เป็นลูกตาให้ลึกเป็นหลุมลงไป โดยเว้นเนื้อหินแกรนิตเป็นรูปแท่งยาว 56 เซนติเมตร ไว้เป็นจุดรับแสงแดดที่ส่องกระทบ ประกายแสงแดดส่องตัดกับเงาดำของหลุมทำให้ดวงตาของรูปสลักราวมีชีวิต เฝ้ามองอเมริกาที่พวกเขาช่วยกันนำพามาสู่ความเป็นมหาอำนาจโลกในปัจจุบัน

วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Les Cent Jours et Sainte-Hélène

Le 18 juin 1815, Napoléon perd la bataille de Waterloo.
C'est la fin d'un espoir qui aura duré 100 jours.

Le 20 mars 1815, Napoléon est à Paris. Il est le nouveau chef de la France, et Louis XVIII s'est enfui. La plupart des maréchaux se sont ralliés. Napoléon ne souhaite plus la guerre, il veut développer son pays. Mais la coalition renaît, les Alliés ne veulent plus de l'Empereur. Ils vont réunir un million d'hommes, et Napoléon, face à eux, en alignera la moitié. L'armée française se poste en Belgique. Les ennemis ne cherchent plus à éviter le combat, ils se présentent devant Napoléon. Son génie ne l'a pas quitté, au contraire : il les bat notamment à Charleroi. Mais l'affrontement global aura lieu à Waterloo. Il subit la plus grave défaite de sa vie. Grouchy est le "responsable". Il n'est pas revenu à temps pour défendre l'Empereur, et son arrivée aurait changer le cours de la bataille. Le Corse chercha la mort, mais elle ne vint pas. Napoléon abdique, ou plutôt capitule sans condition. Les anglais ne veulent plus qu'il puisse revenir. Il décide donc de l'enfermer à Sainte-Hélène...
A Sainte-Hélène, Napoléon dicte ses souvenirs à Las Cases.
"Avec le mémorial, il s'empare de l'avenir" (Max Gallo)
Après sa seconde abdication, il embarque sur le "Bellérophon". Il imagine qu'il pourra finir sa vie en Angleterre ou aux Etats-Unis. Les anglais le maintiennent dans cette illusion jusqu'à ce que le bateau arrive à Sainte-Hélène, le 15 octobre 1815. Les personnes qui l'ont accompagné se répartissent comme ils peuvent dans l'île. Il est placé dans un grand manoir, celui de Longwood. Il écrit ses mémoires en compagnie de Las Cases. Il est très malade. Penser, c'est la seul chose à faire. Son geôlier, Hudson Lowe, le déteste et le traite durement. Il résiste. Il pense, réfléchit à longueur de journée. Il faut résister à cette maladie qui lui brûle le ventre...
Le 4 mai 1821, Napoléon est étendu sur son lit, se tordant de douleurs. La fin est proche, il le sait. C'est pourquoi il a convoqué tous ses amis et proches, ses fidèles, qui l'ont suivi. "Je suis heureux à l'idée que vous allez pouvoir revoir la France, vos proches, et moi mes Braves aux Champs-Elysées". Le samedi 5 mai, il va mourir. Le comte de Montholon recueille ses dernières volont้s. Il ne se souvient plus du prénom de son fils, et par la même occasion du sien. Il prononce, dans un dernier souffle, les mots "tête, armée", et meurt. L'autopsie est pratiquée tout de suite après la mort, fausse dans son pronostic, puisqu'il est prouvé maintenant qu'il a été empoisonné.
"La mort n'est rien, mais vivre vaincu et sans gloire, c'est mourir tous les jours."

วันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วันพ่อ 5 ธันวามหาราช


♥ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทางราชการได้กำหนดให้เป็นวันหยุดราชการหนึ่งวัน เพื่อให้ประชาชนชาวไทย ได้ร่วมกันเฉลิมฉลองในวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ ถือเป็นวันพ่อแห่งชาติ อีกวันหนึ่งด้วย วันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีความเป็นมาของวันสำคัญ คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ โรงพยาบาล เมาท์ ออเบิร์น นครบอสตัน สหรัฐอเมริกา โดยนายแพทย์วิทท์มอร์ เป็นผู้ถวายการประสูติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ 9 แห่งบรมจักรีวงศ์ กรุงรัตนโกสินทร์ ทรงประกอบพระราชกรณียกิจและเจริญพระราชจริยาวัตรเป็นเอนกประการ จำเนียรกาลผ่านมาถึงปัจจุบันที่สุดจะพรรณนาให้ครบถ้วนได้ ท่ามกลางมหาสมาคมวันพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก ทรงมีกระแสพระราชดำรัสที่พสกนิกรทุกคนยังจดจำได้ "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม" อันคำว่าโดย "ธรรม" นั้น ทรงหมายถึง ธรรมอันล้ำเลิศที่เรียกว่า "ทศพิธราชธรรม" หรือที่เรียกกันโดยสามัญว่า "ราชธรรม 10 ประการ" ราชธรรม 10 ประการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงยึดมั่นทรงปฎิบัติโดยเคร่งครัด และส่งผลถึงพสกนิกรทั่วพระราชอาณาจักรนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเหนือเกล้าฯ


วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาเป็นผู้ริ่เริ่ม หลักการและเหตุผลในการจัดตั้งวันพ่อ โดยที่พ่อเป็นผู้มีพระคุณที่มีบทบาทสำคัญ ต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูนตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสมควรที่สังคมจะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาเป็น "วันพ่อแห่งชาติ" ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างนานัปการ ทรงเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและพระราชธิดา ทรงรักใคร่และห่วงใยตั้งแต่พระเยาว์จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งพระเจ้าหลานเธอทุกพระองค์ต่างซาบซึ้งและปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณอย่างมิรู้ลืม พระองค์ทรงเป็น "พ่อ" ตัวอย่างของปวงชนชาวไทยที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตากรุณา ทรงห่วงใยอย่างหาที่เปรียบมิได้



♥ กิจกรรมที่ควรปฎิบัติในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
1.ประดับธงชาติที่อาคารบ้านเรือน
2.จัดพิธีศาสนสงฆ์ ทำบุญใส่บาตร อุทิศเป็นพระราชกุศล น้อมเกล้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล
3.จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล


♥ วัตถุประสงค์ของการจัดวันพ่อแห่งชาติ
1. เพื่อเทิดทูนพระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

2. เพื่อเทิดทูนพระคุณของพ่อ และยกย่องบทบาทของพ่อที่มีต่อครอบครัวและสังคม
3. เพื่อให้ลูกได้แสดงความกตัญญูต่อพ่อ
4. เพื่อให้ผู้เป็นพ่อได้สำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบของตน

ดอกไม้ประจำวันพ่อ






“พุทธรักษา” หมายถึง พระพุทธเจ้าทรงปกป้องคุ้มครอง ให้มีแต่ความสงบสุขร่มเย็น ซึ่งมีเรียกกันมากว่า 200 ปี และสีเหลืองอันเป็นสีประจำวัน พระราชสมภพขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ของปวงชนชาวไทย การมอบดอกพุทธรักษาให้กับพ่อ จึงเสมือนกับการบอกถึง ความรักและเคารพบูชาพ่อ ผู้สร้างความสงบสุขร่มเย็นให้แก่ครอบครัว


♥ คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นพุทธรักษาไว้ประจำบ้านจะช่วยปกป้องคุ้มครอง ไม่ให้มีเหตุร้ายหรืออันตรายเกิดแก่บ้านและผู้อาศัย เพราะพุทธรักษาเป็นพรรณไม้ที่เชื่อกันว่า มีพระเจ้าคุ้มครองรักษาให้มีความสงบสุข คือเป็นไม้มงคลนามนั่นเอง

วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ศิลปะเรอเนซองส์

เรื่องราวของยุคเรอเนซองส์ (Renaissance) เป็นยุคที่คนถามถึงกันมากที่สุด และคงเป็นยุคที่คนรู้จักกันมากที่สุดถ้าหากคิดกันระหว่าศตวรรตที่1-18 หลังจากศตวรรตที่19 จึงเป็นยุครุ่งเรืองของศิลปะสมัยใหม่อย่างเช่น ลัทธิอิมเพรสชันนิสม์ ซึ่งก่อนหน้าที่จะเกิดเรื่องราวของยุดเรอเนซองส์ (Renaissance)ที่ให้กำเนิดศิลปินดังๆ อย่าง ดอนนาเทลโล (Donnatello, 1386-1466) , ฟรา แองเจลิโก(Fra Angelico ,1395-1455) เลโอนาร์โด ดาวินชี (Leonado Da vinci ,1452-1519) คนนี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก มีเกลันเจโล(Michelangelo ,1475-1564)ผู้สร้างสรรค์งานThe Last Judgement(Last Judgment) และราฟาเอล(Raphael ,1483-1520)

ยุคเรอเนซองส์ (Renaissance) เป็นเหมือนนกฟินิกซ์ที่กำเนิดจากเถ้าถ่านของกริซและโรมันมาศัยกรรมกันใหม่ ซึ่งเรอเนซองส์ (Renaissance)แปลตามตัวก็จะแปลได้ความได้ว่า เป็นการฟื้นฟู หรือการเกิดใหม่ของศิลปะเดิม บางท่านเรียกว่าเป็นการเริ่มต้นของศิลปะสมัยใหม่ หลังจากที่ผ่านพ้นยุคกลาง หรือยุคมืดทางศิลปะมาได้(ยุคกลางนี้ตรงกับสมัยสงคามครูเสด)
ทำไมยุคเรอเนซองส์ (Renaissance) ศิลปะถึงได้รุ่งเรือง คำตอบก็คงอยู่ตรงที่ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา วัดหรือโบสถ์ยังคงเป็นผู้อุปถัมภ์ที่สำคัญของเหล่าศิลปินนอกจากนี้ยังมีพวกขุนนาง พ่อค้าผู้ร่ำรวย ซึ่งเป็นชนชั้นสูงก็ได้ว่าจ้าง และอุปถัมภ์เหล่าศิลปินต่าง ๆ ด้วย ตระกูลที่มีชื่อเสียงเหล่านั้น ได้แก่ ตระกูลวิสคอนตี และสฟอร์ซา ในนครมิลาน ตระกูลกอนซากาในเมืองมานตูอา และตระกูลเมดีชีในนครฟลอเรนซ์ การอุปถัมภ์ศิลปินนี้มีผลในการกระตุ้นให้ศิลปินใฝ่หาชื่อเสียง และความสำเร็จมาสู่ชีวิตมากขึ้น ผลงานของศิลปินที่มีทั้ง จิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม ทำให้ชื่อเสียงของศิลปินหลายคน เป็นที่รู้จักทั่วโลกตลอดกาล และ สถานภาพทางสังคมของศิลปินเป็นที่ยอมรับกันอย่างสูงในวงสังคม เกิดสำนักทางศิลปะเพื่อฝึกฝนช่างฝีมือ และเกิดมีศิลปินระดับอัฉริยะขึ้นมาอย่างมากมาย

รูปปั้นเดวิด

ศิลปะในยุคนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นการแสดงออกทางด้านความเชื่อทางศาสนา จึงไม่น่าแปลกว่า ดาวินซีจึงไม่เป็นที่ปลื้มของเหล่าศาสนจักรมากนักในยุคสมัยนี้ สุดท้ายบั้นปลายชีวิตต้องหอบเอาโมนาลิซาขึ้นๆลงๆ ไปจนบั้นปลายของชีวิต แต่กระนั้น ดาวินซีก็ยังเป็นที่จดจำของคนทั้งโลกผ่าน โมนาลิซา และ The Last Supper ได้อยู่ดี แต่ตรงข้ามกลับมีเกลันเจโลที่โป๊บยืนยันที่จะยอมลดอายุของตนเองเพื่อให้ มีเกลันเจโลมีอายุยืนยาวต่อไป(แม้เค้าจะเสียชีวิตเมื่ออายุได้90ปีก็ตาม)ยุคเรอเนซองส์ (Renaissance)เป็นยุดแห่งการใช้ศิลปะวิทยาการใหม่ๆมาใช้อย่างจิงจัง อย่างเช่นวิชาเปอร์สเปคตีฟ(Perspective)ผู้นำวิชานี้มาใช้เป็นคนแรกคือ เพาโล ยูเซลโล(Paole Ucello ,1397-1575) เป็นผลให้หลังจากศตวรรตที่15 ศิลปินทุกคนจึงจำเป็นต้องเรียนวิชาเปอร์สเปคตีฟ(Perspective)ไปโดยบรรยาย วิชาเปอร์สเปคตีฟ(Perspective)เป็นวิชาที่สร้างความตื้นลึกด้วยเส้น แสดงถึงความสัมพันธ์ของขนาดวัตถุซึ่งอยู่ตำแหน่งต่างๆของพื้นภาพตามจุดที่เห็น
สถาปัตยกรรมในยุคเรอเนซองส์ (Renaissance) ที่รู้จักกันมากได้แก่มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ ( Basilica of Saint Peter, 1506) จุดศูนย์กลางของนิกายโรมันคาทอลิก ซึ่งภายในบรรจุไปด้วยผลงานของMichelangelo โดนาโต ดันเจโล บรามันเต (Donato Bramante ,1444-1514)และยังมีฐานแท่นบูชาที่ออกแบบโดยจานลอเรนโซ เบร์นินี (Giovanni Lorenzo Bernini ,1598-1680) ศิลปินสถาปัตยกรรมบาโรก สถาปัตยกรรมเรอเนซองส์จะเน้นความมีความสมมาตร (symmetry) ความได้สัดส่วน (proportion) การใช้รูปทรงเรขาคณิต (geometry) และลักษณะที่ปรากฏในสถาปัตยกรรมคลาสสิค เช่นสถาปัตยกรรมสมัย โรมัน การวางโครงสร้างจะเป็นไปอย่างมีแบบแผนไม่ว่าจะเป็นเสา หรือ คานรับเสา และการใช้ซุ้มโค้งครึ่งวงกลม การใช้โดม มุข (niche) หรือ aedicule ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้เข้ามาแทนที่จะเป็นแบบตรงกันข้ามกับรูปทรงที่ซับซ้อนและไม่เป็นระเบียบ (irregular profile) ที่เป็นที่นิยมของสิ่งก่อสร้างแบบกอธิค



St.Peter

ยุคเรอเนซองส์ (Renaissance) ไม่ใช่เฉพาะศิลปะเท่านั้นมีความความเจริญรุ่งเรืองแต่ยังเป็นที่บ่มเพาะให้วิทยาศาสตร์เป็นศาตร์ที่สร้างความเจริญให้โลกในยุคปัจจุบันอีกด้วย เป็นปีที่เซอร์ไอแซก นิวตัน(Sir Isaac Newton ,1643- 1727) พบกฏแรงโน้มถ่วงจากการตกของผลแอปเปิ้ล และกาลิเลโอ ก็มีชีวิตอยู่ในสมัยนี้ด้วยเช่นกัน

ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าศิลปกรรมสมัยฟื้นฟู (Renaissance) เป็นการนำเอาศิลปกรรม สมัยกรีซ โรมัน และโรมันเนสค์ มาฟื้นฟูใหม่ มีลักษณะของศิลปะที่เด่นชัด เป็นการนำศิลปะกรรมทุกแขนงทางด้านทัศนศิลป์มาฟื้นฟูให้มีลักษณะของตนเองและมีความเด่นชัดมากที่สุด